บทบัญญัติที่ ๓

วิธีทำฌานโดยใช้ธรรมกายและดูอริยสัจ  ๔

     ดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์   ที่ศูนย์กลางกายของกายมนุษย์  ให้เป็นดวงใส  แล้วขยายให้กว้างออกไป  วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ได้   ๒  วา    หนา   ๑   คืบ    คือ  วัดโดยรอบ   ๖   วา    สัณฐานกลม(ไม่ใช่กลมรอบตัวเป็นดวง)  ใสเหมือนกระจกส่องหน้า  นี่เป็นปฐมฌาณแล้วกายธรรมนั่งบนนั้น  ดังนี้  เรียกว่า  กายธรรมเข้าปฐมฌาน

     แล้วเอาตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์ กลางกายของกายทิพย์   ให้เห็นเป็นดวงใส  แล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น  นี่เป็นทุติยฌาน  ธรรมกายน้อมเข้าทุติยฌานนั้นแล้ว  ปฐมฌาณก็หายไป  แล้วทุติยฌาณก็มาแทนที่ ธรรมกายนั่งบนนั้น นี้ชื่อว่าธรรมกายเข้าทุติยฌาณ

      แล้วเอาตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์ กลางกายของกายรูปพรหม ให้เห็นเป็นดวงใส  แล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น นี่เป็นตติยฌาน  ธรรมกายน้อมเข้าตติยฌานนั้น  แล้วทุติยฌาณก็หายไป  เพราะตติยฌาณมาแทนที่  ธรรมกายนั่งบนนั้น  นี้ชื่อว่าธรรมกายเข้าตติยฌาณ

      แล้วเอาตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น      เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายของกายอรูปพรหม  ให้เห็นเป็นดวงใส แล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น  นี่เป็นจตุตถฌาน   ธรรมกายน้อมเข้าจตุตถฌานนั้น   แล้วตติยฌานก็จะหายไป     เพราะจตุตถฌานมาแทนที่     ธรรมกายนั่งบนนั้น    ดังนี้ชื่อว่าธรรมกายเข้าจตุตถฌาณ

     การเดินวิชาตั้งแต่ต้นจนถึงตรงนี้  เป็นเรื่องของรูปฌาน

      และต่อแต่นี้ไป  เป็นเรื่องของอรูปฌาน

      จากนี้ไป      ให้ใจธรรมกายน้อมเข้าไปในเหตุว่างของปฐมฌาน

      เห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน   ธรรมกายก็นั่งบนดวงนั้น   เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนะฌาน    ดังนี้แล้ว   ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ในเหตุว่างของทุติยฌาณ    แล้วอากาสานัญจายตนะฌานก็จางหายไป  เกิดวิญญาณัญจายตนะฌาน   (ใสยิ่งกว่านั้น)         แล้วธรรมกายนั่งบนวิญญาณัญจายตนะฌานนั้น    ใจธรรมกายน้อมไปในที่รู้ละเอียด      ในเหตุว่างของตติยฌาณ   แล้ววิญญาณัญจายตนะฌานก็จางหายไป  เกิดอากิญจัญญายตนะฌาน   (ใสยิ่งขึ้นไปอีก)     ธรรมกายนั่งอยู่บนอากิญ จัญญายตนะฌานนั้น    ใจธรรมกายน้อมไป    “ในรู้ก็ไม่ใช่    ไม่รู้ก็ไม่ใช่” ในเหตุว่างของจตุตถฌาณ     แล้วอากิญจัญญายตนะฌานก็จางหายไปเกิดเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานมาแทนที่      จะรู้สึกว่าละเอียดจริงประณีตจริง    จากนั้น    ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานนั้น    เหล่านี้เรียกว่า   เข้าฌาน  ๑  ถึง  ๘  โดยอนุโลม

      แล้วย้อนกลับ  จับแต่ฌานที่  ๘   นั้น   ถอยหลังลงมาหาฌานที่ ๗, ๖, ๕, ๔, ๓, ๒, ๑   เรียกว่าปฏิโลม

      จากนั้น  ดูอริยสัจของกายมนุษย์   ให้เห็นจริงว่า   ความเกิด   แก่   เจ็บ   ตาย  ของมนุษย์เป็นทุกข์

      ที่เรียกว่า   “ความเกิด”  นั้น   มีลักษณะเป็นดวงใส    ขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์  ขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์    สีขาวใสบริสุทธิ์  ดวงเกิดนี้จะเริ่มมาจรดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์   ในเวลาที่กายมนุษย์มีอายุครบ   ๑๔    ปี     ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคนถ้าดวงนี้ไม่มาจรดกลางดวงธรรมของมนุษย์       กายมนุษย์นี้ก็จะมาเกิดไม่ได้   เมื่อกายธรรมดูความเกิด   ดูเหตุที่จะทำให้เกิด  เห็นได้ตลอดแล้วก็ดู  “ความแก่”  ต่อไป

      “ความแก่”  นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงของความเกิด  เป็นดวงกลมขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์ ขนาดเล็กก็เท่าฟองไข่แดงของไก่  สีดำเป็นนิลแต่ไม่ใส  เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็ก  ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่  ถ้าดวงแก่นี้ยิ่งโตขึ้น  กายมนุษย์ก็ยิ่งแก่เข้าทุกที   ดวงแก่นี้เอง   ที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม  เมื่อแก่มากขึ้นแล้ว  ก็ต้องมีเจ็บ

     “ความเจ็บ”  เป็นดวงซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง    เป็นดวงกลมมีขนาดเท่าๆกับดวงเกิด     เท่าๆกับดวงแก่     สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่  ขณะเมื่อดวงเจ็บมาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เมื่อเวลาใด จะทำให้กายมนุษย์เจ็บป่วยทันที เมื่อดวงเจ็บมาจรดหนักเข้า ดวงตายก็เข้ามาซ้อนอยู่กลางดวงเจ็บ

      “ความตาย”   เป็นดวงกลมมีขนาดเท่า  ๆ  กับดวงเจ็บ   แต่มีสีดำใสประดุจนิล   เมื่อดวงตายเข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว  จะจรดตรง ”หัวต่อ” ของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอดวงตายเข้ามาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ก็ขาดจากกัน    เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว  กายมนุษย์จะตายทันที

       เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายและรู้ด้วยญาณของธรรมกาย     ว่า  ความเกิด    แก่   เจ็บ    ตาย   นี้ไม่เที่ยง   ไม่แน่นอนจริงแล้ว   รู้เห็นตามจริงเช่นนี้ชื่อว่าสัจจญาณ  เมื่อตาธรรมกายเห็นว่าความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริงแล้ว   เป็นสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น   ชื่อว่าบรรลุกิจจญาณ    และความทุกข์ทั้งหมดเหล่านี้    เราก็ได้พิจารณาเห็นชัดแจ้งรู้ชัดเจนมาแล้วชื่อว่าบรรลุกตญาณ    การพิจารณาเช่นนี้เรียกว่า   พิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ ๓

        ส่วนดวงสมุทัยนั้น  มีอยู่ ๓ ดวง  ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์    ขนาดโตใหญ่เท่าดวงพระจันทร์   และขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์    เหมือนกันทั้งหมด     ซ้อนกันอยู่    สำหรับดวงข้างนอกมีสีดำเข้ม    แต่อีก  ๒  ดวงนั้น     ยิ่งมีความละเอียดและความดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้น ๆ  เมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณของธรรมกายเช่นนี้  รู้ว่าเพราะสมุทัยนี้เอง   จึงทำให้ทุกข์เกิด     เป็นของจริงเช่นนี้     เรียกว่าสัจจญาณ    เมื่อรู้แล้วพากเพียรละ   เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรละ  เช่นนี้เรียกว่ากิจจญาณ   และเมื่อละสมุทัยได้ขาดแล้ว  ชื่อว่ากตญาณ   เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาสมุทัยซึ่งเป็นไปในญาณ ๓

       เมื่อมีสมุทัยเกิดขึ้นแล้ว   ก็ต้องดูให้รู้ถึงวิธีดับเหตุแห่งทุกข์นั้นให้ได้ตลอด  ที่เรียกว่า “นิโรธ”

       นิโรธ   เป็นดวงกลมใส   อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์   ขนาดวัดตัดกลาง ๕ วา   พึงสังเกตว่า    เมื่อมีนิโรธแล้วสมุทัยย่อมหมดไป  เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไปเมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณธรรมกายว่า    ความดับไปแห่งสมุทัยเป็นเพราะนิโรธนั้น เป็นจริง ชื่อว่าสัจจญาณ และนิโรธนี้เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเป็นกิจจญาณ  เมื่อรู้เห็นตลอดแล้ว  ชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ   จัดเป็น กตญาณ   เช่นนี้  เรียกว่าพิจารณานิโรธอันเป็นไปในญาณ ๓

      เมื่อทำนิโรธความดับไปแห่งทุกข์ได้แล้ว ก็พึงทำมรรคให้เกิด ขึ้น    มรรคนี้ก็คือดวงศีล   สมาธิ   ปัญญา   ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง    มีสัณฐานกลมใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก    มีขนาดเท่ากับหน้าตักของธรรมกาย  เมื่อได้เห็นด้วยตาได้รู้ด้วยญาณของธรรม กายแน่ชัดแล้ว   รู้แน่ว่าสิ่งนี้เป็นมรรคจริง  ชื่อว่าเป็นสัจจญาณ     เมื่อ มรรคนี้เป็นของจริง ก็เป็นทางควรดำเนินให้เจริญขึ้น ชื่อว่าเป็นกิจจญาณเมื่อได้รู้เห็นตลอดด้วยตาและญาณของธรรมกายถึงมรรคนี้ว่า ได้ดำเนินให้เจริญขึ้นแล้ว   ชื่อว่าเป็นกตญาณ  เดินวิชามาเช่นนี้   ชื่อว่าได้เห็นมรรคพร้อมทั้งรู้เป็นไปในญาณ ๓

       เห็นอริยสัจเหล่านี้     พร้อมกับเดินสมาบัติ      เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายก็ตกสูญเป็นดวงใส    วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้  ๕  วา    ในไม่ช้าสูญนั้นก็กลับเป็นธรรมกาย    หน้าตักกว้าง  ๕  วา  สูง  ๕  วา     เกตุดอกบัวตูม    เป็นพระโสดา   แล้วธรรมกายพระโสดานี้เข้าฌาน   ดูอริยสัจของกายทิพย์  ให้เห็นจริงใน   ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ   มรรค   ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว  เมื่อถูกส่วนเข้า  ธรรมกายพระโสดาก็ตกสูญเป็นดวงใส  วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้   ๑๐   วา    ในไม่ช้าก็กลับเป็นธรรมกายหน้าตักกว้าง    ๑๐  วา    สูง    ๑๐   วา    เกตุดอกบัวตูม    คือธรรมกายพระสกิทาคามี   แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีเข้าฌาณดูอริยสัจของกายรูปพรหม  ให้เห็นจริงใน   ทุกข์    สมุทัย    นิโรธ    มรรค   เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกสูญเป็นดวงใส  วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้  ๑๕ วา     ไม่ช้าสูญนั้นก็กลับเป็นธรรมกาย  หน้าตักกว้าง  ๑๕  วา   สูง   ๑๕ วา   เกตุดอกบัวตูม     เป็นธรรมกายพระอนาคามี      แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน    ดูอริยสัจของกายอรูปพรหม     ให้เห็นจริงในทุกข์   สมุทัย   นิโรธ   มรรค     เมื่อถูกส่วนเข้า      ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกสูญเป็นดวงใส  วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้   ๒๐  วา    ในไม่ช้าสูญนั้นก็กลับเป็นธรรมกาย    หน้าตักกว้าง   ๒๐   วา    สูง   ๒๐  วา    เกตุดอกบัวตูม    เป็นธรรมกายพระอรหัตต์

      ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระโสดา  เป็นปฐมฌาณ (แบบเดียวกับที่เคยทำมาแล้วในการทำฌาน)  ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระสกิทาคามี  เป็นทุติยฌาน   ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอนาคามี   เป็นตติยฌาน      ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของพระอรหัตต์เป็นจตุตถฌาน ว่างของปฐมฌานประกอบเป็น อากาสานัญจายตนะฌาน  รู้ในว่างของทุติยฌานเป็น  วิญญาณัญจายตนะฌาน  รู้ในว่างของตติยฌานเป็น  อากิญจัญญายตนะฌาน  และรู้ก็ไม่ใช่   ไม่รู้ก็ไม่ใช่    ในเหตุว่างของจตุตถฌานเป็น   เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน   เข้าสมาบัติทั้ง  ๘  นี้    เป็นอนุโลมปฏิโลมจนครบ  ๗  เที่ยว  ธรรมกายก็ตกสูญเข้านิพพานของกายมนุษย์

      เดินสมาบัติในนิพพานของกายมนุษย์     ครบ   ๗   เที่ยว    ธรรม กายก็ตกสูญเข้านิพพานของกายทิพย์        เดินสมาบัติในนิพพานของกายทิพย์ครบ  ๗  เที่ยว   ธรรมกายก็ตกสูญเข้านิพพานของกายรูปพรหม  เดินสมาบัติในนิพพานของกายรูปพรหมครบ  ๗  เที่ยว   ธรรมกายก็ตกสูญเข้านิพพานของกายอรูปพรหม  เดินสมาบัติในนิพพานของกายอรูปพรหม ครบ   ๗   เที่ยว       ธรรมกายก็ตกสูญเข้านิพพานของกายธรรมเลยทีเดียว

      เวลาจะออกจากนิพพานของกายธรรม    ก็ต้องเดินสมาบัติอีก  ๗  เที่ยว     ธรรมกายตกสูญกลับออกมาถึงนิพพานของกายอรูปพรหม      แล้วเดินสมาบัติอีก  ๗  เที่ยว   ตกสูญกลับออกมาถึงนิพพานของกายรูปพรหมแล้วเดินสมาบัติอีก  ๗  เที่ยว    ตกสูญกลับออกมาถึงนิพพานของกายทิพย์เดินสมาบัติอีก  ๗  เที่ยว       ตกสูญกลับออกมาถึงนิพพานของกายมนุษย์เดินวิชาแบบเดียวกับเวลาเข้าไป

      (สำหรับฌาณนั้น   ขนาดที่กล่าวแล้ว    คือวัดตัดกลาง  ๒  วา  หนา  ๑  คืบ  วัดโดยรอบ  ๖  วานั้น  เป็นขนาดธรรมดา    แต่เมื่อเวลาถึงขั้นธรรมกายขยายส่วนโตขึ้นแค่ไหน พึงเข้าใจว่าฌาณก็จะขยายส่วนโตขึ้นไปตามนั้นได้)

* * * * *

อธิบายการเดินวิชา

  สิ่งที่กำหนดให้ทำ

      (๑.) ทำฌาณให้แก่กายธรรม       โดยใช้ดวงธรรมของกายโลกีย์    เรียกว่า    ทำรูปฌาณและอรูปฌาณ    และใช้ดวงธรรมของกายธรรมทำฌาณให้แก่กายธรรม  เรียกว่า  ทำรูปฌาณและอรูปฌาณ

      รูปฌาณ   แปลว่าฌาณที่เห็นได้

      อรูปฌาณ   แปลว่าฌาณที่ละเอียดกว่ารูปฌาณ

      อย่าแปลคำ   “อ” (อะ)   ว่าไม่     อรูปฌาณแปลว่าฌาณที่ละเอียดกว่า  รูปฌาณ

      (๒.) ใช้ตาธรรมกายและรู้ญาณของธรรมกายดูอริยสัจ  ๔  ที่มีอยู่ในกายโลกีย์คือดูทุกข์   สมุทัย   นิโรธ  มรรค    ให้เป็นปริวัฎ  ๓  คือ   สัจจญาณ  กิจจญาณ  กตญาณ  หรือเรียกว่าญาณ  ๓

 ฌาณเกิดจากอะไร?

      ฌาณเป็นแผ่นขาวใส   เกิดจากขยายดวงธรรมให้โตออก  แล้วกายธรรมนั่งบนนั้น   ลักษณะของฌาณนั้น  กลมคล้ายเขียงที่เราใช้หั่นผัก     เส้นผ่าศูนย์กลาง  ๒  วา   หนา ๑  คืบ  หากเป็นฌาณของกายธรรมก็มีขนาดโตยิ่งขึ้นไป ฌาณทำหน้าที่เป็นพาหนะให้แก่กาย  ทำให้กายไปไหนมาไหนได้เร็ว

 อารมณ์ฌาณกับแผ่นฌาณไม่เหมือนกัน

      แผ่นฌาณคือการขยายดวงธรรมให้โต     คือวิชาที่เราจะทำต่อไปนี้  ส่วนอารมณ์ฌาณนั้น    เกิดจากสภาพใจที่สงบระงับ   เช่น

      ปฐมฌาณ  มีองค์ ๕ ได้แก่  วิตก  วิจาร  ปีติ  สุข  เอกัคตา

      เรามักได้ยินคำ   วิตกวิจารณ์    แปลว่า   เป็นทุกข์กังวลใจอย่าปนกับ  วิตก  และวิจาร

      คำวิตก  แปลว่า  ตรึก  นึก  ตรอง

      คำวิจาร  แปลว่า  ใคร่ครวญโดยปัญญา

      วิตก   หมายความว่า  ใจประคองดวงนิมิตได้    ไม่เผลอไปเรื่องอื่นเลย  อารมณ์เรายึดมั่นแต่นิมิตเท่านั้น

      มาถึงขั้นวิจาร      หมายความว่า      ประคองใจให้ถูกส่วนว่าจะวางใจอย่างไรเช่นไร   เป็นขั้นใช้ปัญญา

      คำทางพระทั้ง   ๒   คำนี้       ทำความยุ่งยากใจพอสมควรนักปฏิบัติเขาไม่ห่วงเรื่องถ้อยคำ   แต่นักวิชาการเขาเคร่งครัด

      อารมณ์ฌาณในเรื่องวิตก    ก็คือ   ไม่เผลอและไม่ง่วงนอนพอถึงขั้นวิจาร      ไม่มีความลังเลสงสัย     พอถึงขั้นปีติ     เกิดขนลุกบ้าง       เกิดความโปร่งใจบ้าง   เกิดความพอใจ  พอถึงขั้นสุข    ก็คือสบายใจแล้ว      อย่างนี้ดีแล้ว     พอถึงขั้นใจติ่งคือใจเป็นหนึ่ง     ก็คือขั้นเอกัคตารมณ์

      อารมณ์เช่นนี้    เกิดขึ้นแก่ผู้ฝึกทำภาวนาไม่ว่าสายใดๆ  แต่แผ่นฌาณไม่เกิดแก่กาย  ไม่รู้จักว่าฌาณมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร   และอยู่ที่ไหน    แต่การเจริญภาวนาแนว   สัม   มา   อะ  ระ  หัง  เราทำได้ทั้งอารมณ์ฌาณและเกิดแผ่นฌาณ

      ต้องขอบพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำสักร้อยครั้ง  เพราะใคร ๆ    ก็อยากทำฌาณกันทั้งนั้น    เพราะสบายใจ       เกิดความสุขทางใจ    ไปค้นคว้าในปิฎก     พบแต่เรื่องอารมณ์ฌาณ     ส่วนวิธีทำแนวปฏิบัติ  รูปพรรณสัณฐานไม่มี  และศึกษาค้นคว้าที่ใดไม่ได้ด้วยเคราะห์กรรมจึงมีแก่ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย   เพราะเราไม่รู้วิธีทำ          ชีวิตของเราจบลงด้วยความไม่รู้        แต่ด้วยมีอุปนิสัยมาแต่ปุเรภพชาติค้นคว้าธรรมไปตามคติของตน   พบวิชาบ้าง     ก็เป็นวิชาของมารเขาหรือวิชาของพระปนของมาร      บัดนี้เป็นโอกาสดีแล้ว      หลวงพ่อวัดปากน้ำมาชี้ขาดในทุกเรื่องแล้ว    ขอเชิญท่านเรียนได้ตามใจชอบ

      ทุติยฌาณ    มีอารมณ์ฌาณ   ๓   คือ    ๑. ปีติ   ๒. สุข  ๓. เอกัคตา

      ตติยฌาณ    มีอารมณ์ฌาณ   ๒   คือ  ๑.  สุข    ๒.เอกัคตา

      จตุตถฌาณ   มีอารมณ์ฌาณ  ๒  คือ  ๑.เอกัคตา ๒.อุเบกขา

      อากาสานัญจายตนะ พิจารณาอากาศว่าเป็นความว่างเปล่าปราศจากอารมณ์  โดยกำหนดให้อากาศเป็นวงกลม

      วิญญาณัญจายะตนะ  เพ่งอากาศที่เป็นวงกลมให้ว่างจากนั้น     จะเห็นความใสยิ่งกว่าอากาศ     มีลักษณะเป็นวงกลมเช่น เดียวกัน        เราจะเกิดความรู้สึกว่า        ความใสอันเป็นวงกลมนั้นมีวิญญาณ     คือมีชีวิตจิตใจอยู่ก็ไม่ใช่     จะว่าไม่มีชีวิตจิตใจก็ไม่เชิง ยังคาบลูกคาบดอก

       อากิญจัญญายตนะ   เมื่อดวงกลมใสจะมีวิญญาณก็ไม่ใช่ไม่มีวิญญาณก็ไม่เชิง   ได้หายไปแล้ว  เกิดความรู้สึกทางใจขึ้นมาใหม่  คือรู้สึกว่า  ไม่มีอะไรอีกแล้ว  ว่างจนกระทั่งไม่อะไร

       เนวสัญญานาสัญญายตนะ   เมื่อความรู้สึกว่างจนไม่มีอะไร  ได้หายไปแล้ว  จะเกิดอารมณ์คือความรู้สึกอย่างใหม่เกิดขึ้นคือ     จะรู้สึกตัวก็ไม่ใช่  จะว่าไม่รู้สึกก็ไม่ใช่   เป็นลักษณะคาบลูกคาบดอก  คือจะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่  จะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง  นี่คืออารมณ์ของเนวสัญญานาสัญญายตนะ  สัญญา  แปลว่า  จำได้หมายรู้

 ฌาณเต็มส่วนกับฌาณไม่เต็มส่วน

      ฌาณไม่เต็มส่วน        คือเกิดแต่อารมณ์ฌาณ        แต่ไม่เกิดแผ่นฌาณก็ก้นกาย     ส่วนฌาณเต็มส่วนนั้น     เกิดทั้งอารมณ์ฌาณและเกิดแผ่นฌาณที่ก้นกาย

      วิชาธรรมกายเท่านั้น ที่จะเกิดได้ทั้งอารมณ์ฌาณและแผ่นฌาณ การเจริญภาวนาแบบกำหนดลมหายใจเข้าออก  ไม่ตั้งใจที่ศูนย์กลางกาย    จึงทำได้แค่อารมณ์ปฐมฌาณ  จะให้สูงกว่านี้   ยากเสียแล้ว    เพราะกิเลสทางใจหรือที่เราเรียกว่าศัตรูทางใจ    พูดอย่างเราก็ว่ามารรบกวนตลอดเวลา

      ญาณทัสสนะบางอย่างอาจแม่นยำได้  มารเขาไม่ขวาง  เขาเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย  เราจะเห็นเขานั่งภาวนากันได้นานๆพอภาวนาพิจารณาลมหายใจเข้าออกถึงขั้นลมละเอียด  จะพบความว่าง   สบายใจ   ตัวเบา   สบายใจ  ทำได้แค่นี้   เมื่อไรก็อย่างนี้แต่ความรู้ไม่ไปไหน    วนเวียนอยู่ในเรื่องว่าง  สบายใจแค่นี้   เพียง แต่จะเข้าถึงกายฝัน   ยังเข้าไม่ได้   เปิดตำราอยากเรียนอะไร  ก็ไปกำหนดกันในว่างนั้น  ว่างนั้นก็ส่งวิชาให้เห็นเรื่อยไป  ชีวิตเราจบลงด้วยความรู้เพียงแค่นี้ เราทุ่มเทชีวิตกันทั้งชีวิต แต่รู้เห็นได้แค่นี้ น่าเสียใจ  พวกเรายังมายกย่องว่าเป็นพระอรหันต์เสียด้วย

      แต่การทำวิชาแนววิชาธรรมกาย   พระบรมศาสดาทรงทำอย่างไร  เราก็ทำอย่างนั้น  แต่เราจะเห็นจริงจังอย่างพระองค์ไม่ได้  และจะให้เราเห็นแจ้งอย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำย่อมไม่ได้  เพราะบารมีของเราไม่เท่าพระองค์    การอบรมบ่มอินทรีย์ของเราไม่เท่าพระองค์นั่นเอง

 ที่เรียกว่าสมาบัติคืออะไร

      สมาบัติคือการเดินวิชาแบบอนุโลมปฏิโลม     ตำราเขาบอกว่าให้เดินถึง ๗ เที่ยว   คือเดินหน้าไป ๑  ย้อนกลับมา  ๑    ให้นับเป็น ๒ เที่ยว   เพิ่มความยากขึ้นอีก   ก็คือเข้าฌาณไปด้วย   ไม่เดินวิชา  ๑๘  กายธรรมดา  เหตุผลก็เพื่อให้กายใส     ดวงธรรมใส    และฌาณก็ใสด้วย   เพราะถ้าไม่ใส   ธรรมกายจะไม่ตกสูญ     หากธรรมกายไม่ตกสูญ    ท่านให้เดินวิชาเพิ่มจำนวนเที่ยวขึ้นอีก    จนกว่าธรรมกายจะตกสูญ

 ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ   มรรค  คืออะไร ?

      เราทราบความหมายกันทั่วแล้ว  แต่ตัวตนและหน้าตาของทุกข์   สมุทัย    นิโรธ    มรรค     คืออย่างไร     เรามักไม่เข้าใจดวงทุกข์และดวงสมุทัย    เป็นดวงค่อนข้างดำ    นิโรธ    คือ   หยุด   นิ่ง      แน่น      มีลักษณะเป็นดวงกลมขาวใส     และมรรคแปลว่า  ทางเดิน   เป็นดวงขาวใส   ทางเดิน   อยู่กลาง    เป็นจุดใสเล็กเท่าปลายเข็ม   ที่ผมทำวิชาปราบมารก็คือ    ทำให้นิโรธและมรรคชนะทุกข์และสมุทัยให้ได้ในทุกสถาน   หากท่านอยากทราบ    โปรดหาหนังสือปราบมารที่ผมเขียนมาอ่านดูได้ 

ญาณ  ๓  หรือปริวัฏ  ๓

      ญาณ  แปลว่า  รู้เห็น

      ปริวัฏ  แปลว่า  เวียนรอบ

      หมายความว่า   การเดินวิชาเพื่อให้แจ้งความรู้    จะต้องครบสูตร  ๓  คือ    สัจจญาณ    ได้แก่จริงแท้แน่นอน    กิจจญาณเป็นภารกิจที่ควรทำ    กตญาณ   หมายถึงทดลองดูแล้วตรวจสอบแล้ว   หลักของการเรียนรู้ของพระศาสดายึดหลักปริวัฏ  ๓  ทุกเรื่องจึงจะเอาความรู้นั้นมาบอกแก่พวกเราได้   ว่าได้ตรัสรู้เรื่องนั้นแล้ว

      พูดถึงเรื่องนี้  เราเห็นชัดเจนทีเดียวว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำเดินตามแนวพระศาสดาทีเดียว   อย่างเรื่องทำฌาณและดูอริยสัจ   ๔  นี้  หลวงพ่ออ้างญาณ  ๓  ในความรู้ของท่าน   อยากกราบความรอบรู้ของหลวงพ่อสักร้อยครั้ง       ผมโชคดีที่เกิดมาได้พบหลวงพ่อวัดปากน้ำ    แต่ปัญญาไม่ดี   หลวงพ่อสอนเท่าไรไม่จำ   ตลอดชีวิตของผม  หลวงพ่อใช้ให้สอนให้แต่งตำรา    ร้ายที่สุดคือให้ปราบมารถ้าผมสามารถถอดกายได้อย่างหลวงพ่อ   จะยอมตายเดี๋ยวนี้ทีเดียวเบื่อรบกับมารเหลือเกินแล้ว     ปราบเท่าไรไม่รู้จักหมด    คิดว่าหมด แล้ว    เดินวิชาไป  ๆ  เจออีกแล้ว     เป็นอยู่อย่างนี้ไม่รู้ว่ากี่ปีมาแล้วบารมีของเราเป็นอย่างนี้     เที่ยวหน้าท่านก็ต้องเอาเรามาปราบมารอีก   เพราะบารมีไปทางนี้เสียแล้ว    ดังนั้น     ขอร้องให้ท่านรีบเรียนงานข้างหน้ายังมีรอรับท่านผู้เชี่ยวชาญทางวิชาธรรมกายอีกมาก

แนวเดินวิชาทำรูปฌาณ

 ลำดับแรก

      - ทำใจหยุด   ใจนิ่ง    อยู่ที่ดวงธรรมในท้องของธรรมกายบริกรรมใจหยุดในหยุด ๆ  ๆ   นิ่งในนิ่ง  ๆ  ๆ

      - ส่งใจนิ่งลงไปที่กลาง    คือที่จุดใสเท่าปลายเข็ม   ซึ่งอยู่กลางดวงธรรม     บริกรรมใจหยุดในหยุด ๆ ๆ    แล้วจุดใสเท่าปลายเข็มจะว่างและหายไป   จากนั้นจะเห็นดวงธรรมของกายมนุษย์ทันที

      - ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของกายมนุษย์      เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม    ซึ่งอยู่กลางดวงธรรม

      - ส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็ม      บริกรรมใจหยุดในหยุด  ๆ   ๆ     ทำใจเหมือนจรดดินสอลงบนกระดาษแล้วบริกรรมใจหมุนขวาในหมุนขวา  ๆ  ๆ   แล้วนึกให้ดวงธรรมขยายออก  ให้กว้างออกไป     ดวงธรรมจะขยายออกเป็นแผ่นกระจกใสออกไป     จะให้ใหญ่เท่าไรก็ได้  แต่เราเอาเพียงเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่นกระจกเพียง ๒ วา นี่คือ  ปฐมฌาณ  มีลักษณะเป็นแผ่นใสคล้ายเขียงหั่นผัก  เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ วา หนา ๑ คืบ

 ลำดับสอง

      น้อมใจของเรา   เอาธรรมกายนั่งลงไปที่แผ่นฌาณนั้น  คือส่งใจนิ่งลงไปที่แผ่นฌาณ    ตรงจุดใสเท่าปลายเข็มกลางแผ่นฌาณบริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   นิ่งในนิ่งๆๆ   อย่างนี้เรียกว่า  ธรรมกาย

      เข้าปฐมฌาณ     จุดใสเท่าปลายเข็มของดวงธรรมของธรรมกาย  ตรงกับจุดใสเท่าปลายเข็มกลางแผ่นฌาณพอดี        เราอยากทราบอารมณ์ของปฐมฌาณ    ก็นิ่งอยู่อย่างนั้น   ตรวจสอบอารมณ์ฌาณว่าตรงกับตำราหรือไม่      ใช้เวลาหลายวัน     ตรวจสอบอยู่อย่างนั้นวันนี้ทำวิชาไม่ดี  พรุ่งนี้ทำใหม่  ฝึกแต่อย่างนี้

 วิจารณ์     ที่ว่าธรรมกายเข้าฌาณ     หมายความว่าธรรม กายนั่งบนแผ่นใส      อารมณ์ฌาณบังเกิดแก่กายมนุษย์      แต่กายมนุษย์ไม่มีแผ่นใสที่ก้นกาย     (ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล    มีเหาะเหินเดิน อากาศ    ก็เรื่องฌาณนี้เอง)

 หมายเหตุ    พึงสังเกตุการเดินวิชา    จำวิธีการลำดับหนึ่งและลำดับสองให้แม่น     ในบทอื่นจะไม่กล่าวถึง     ถือว่าเข้าใจแล้วมีวิธีการอย่างเดียวกัน

 ลำดับสาม

      ทำทุติยฌาณ  มีวิธีดังนี้  ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของกายมนุษย์      เห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรม      ส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็ม  จุดใสเท่าปลายเข็มจะว่างออก   เห็นกายทิพย์

      ส่งใจไปที่กายทิพย์     โดยเดินใจไปตามฐาน  ๗  ฐาน   ในที่สุด      ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของกายทิพย์    จากนั้น    เดินวิชาตามที่กล่าวแล้ว  ก็เกิดทุติยฌาณ

      แล้วทำตติยฌาณจากกายพรหม   ทำจตุตถฌาณจากกายอรูปพรหม   ตามวิธีการเดียวกัน

 หมายเหตุ ฌาณที่หายไป ไม่ได้หายไปไหน  ไปซ้อนฌาณที่ธรรมกายกำลังเพ่งอยู่  เช่นเมื่อเข้าทุติยฌาณ  ปฐมฌาณที่หายไปก็ซ้อนล่างของทุติยฌาณ    เข้าตติยฌาณ   ทุติยฌาณก็มาซ้อนล่างของตติยฌาณ  และเมื่อเข้าจตุตฌาณ   ฌาณที่มาซ้อนจตุตฌาณก็คือตติยฌาณ  ทุติยฌาณ  ปฐมฌาณ  ดังนี้เป็นต้น

แนวเดินวิชาทำอรูปฌาณ

 รูปฌาณ  ทำจากดวงธรรมของกายโลกีย์  คือ

      ปฐมฌาณ  จากดวงธรรมของกายมนุษย์

      ทุติยฌาณ  จากดวงธรรมของกายทิพย์

      ตติยฌาณ  จากดวงธรรมของกายพรหม

      จตุตถฌาณ  จากดวงธรรมของกายอรูปพรหม

      ส่วนอรูปฌาณ   ทำจากการเพ่งเข้าไปในว่างของรูปฌาณเพราะรูปฌาณทุกฌาณมีกลาง      คือจุดใสเท่าปลายเข็มกลางแผ่นฌาณ     กลางคือจุดใสเท่าปลายเข็มนั้นตรงกันหมด     คือถ้าเรานิ่งลงไปที่ “กลาง” ของฌาณใด ก็จะถูก “กลาง”  ของทุกฌาณพร้อมกัน  อยู่ที่เราจะพิจารณาฌาณใด     ฌาณนั้นก็จะปรากฏให้เห็น     ส่วนฌานที่เราไม่พิจารณา  ก็จะกลับไปซ้อนล่างของฌาณที่เรากำลังพิจารณานั้น  และฌานที่เรากำลังพิจารณา  ก็จะกลายเป็นฌาณที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป ฌาณอื่นก็พลอยมีฐานะละเอียดตามไปด้วย

 สถานภาพเดิม    ขณะนี้ธรรมกายกำลังเข้าจตุตถฌาณจากนี้ไป  เป็นการเดินวิชาทำอรูปฌาณ

 ลำดับแรก

      ธรรมกายนั่งอยู่บนจตุตถฌาณ      ทำใจนิ่งลงไปกลางดวง ธรรมในท้องธรรมกาย         บริกรรมใจหยุดในหยุดๆ         นิ่งในนิ่งๆจากนั้น   จะเห็นกลางคือจุดใสเท่าปลายเข็ม   ซึ่งอยู่กลางดวงธรรม

      ส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรม บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ      นิ่งในนิ่งๆๆ      จะเห็น    “จุดใสเท่าปลายเข็ม”กลางแผ่นฌาณที่ก้นกายธรรม   เพราะจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรม     และจุดใสเท่าปลายเข็มกลางแผ่นฌาณนั้นตรงกัน     พูดให้ง่ายก็คือ    เห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรมแล้ว    จะถูกจุดใสเท่าปลายเข็มของฌาณด้วย

      เมื่อส่งใจนิ่ง  “นึกดูกลางฌาณ”  เราจะเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มของฌาณทันที   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   นิ่งในนิ่งๆๆ  นึกเข้าปฐมฌาณ   แล้วจะเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มของปฐมฌาณทันที   จุดใสเท่าปลายเข็มของฌาณอื่น   จะไปต่อท้ายจากจุดใสเท่าปลายเข็มของปฐมฌาณ   ตามที่กล่าวมาแล้ว

      ส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของปฐมฌาณนั้น  แล้วจุดใสเท่าปลายเข็มของปฐมฌาณจะขยายออกเป็นแผ่นใส   มีขนาดเท่าแผ่นใสของจตุตถฌาณ   แผ่นใสใหม่นี้คือ  อากาสานัญจายตนะฌาณ  (ฌาณที่ ๕)    ดังนั้น   อากาสานัญจาฯ    เกิดจากปฐมฌาณและจตุตถฌาณประสมกัน   แล้วเกิดเป็นฌาณขึ้นใหม่   แล้วธรรม กายก็เข้าไปนั่งบนฌาณใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น      เมื่อจุดใสเท่าปลายเข็มของฌาณหนึ่ง        ซ้อนลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของอีกฌาณหนึ่ง

      แผ่นใสของฌาณที่ลงไปซ้อนจะค่อยๆ    หายไป     เพราะกำเนิดเดิมของฌาณที่ลงไปซ้อน  ได้ไปซ้อนกับกำเนิดของฌานที่รองร้บ

  ลำดับสอง

      ทำวิญญาณัญจายตนะฌาณ

      ขณะนี้   ธรรมกายนั่งบนอากาสานัญจาฯ  จะทำวิญญา ณัญจาฯ  มีวิธีทำดังนี้

      ส่งใจหยุดใจนิ่งลงไปที่กลางดวงธรรมในท้องของธรรมกายบริกรรมใจหยุดในหยุดๆ     นิ่งในนิ่งๆ     จนกระทั่งเห็น    “จุดใสเท่าปลายเข็ม”      ซึ่งอยู่กลางดวงธรรม       พอจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรมว่างออกไป    จะเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มของฌาณ    เพราะจุดใสเท่าปลายเข็มของดวงธรรมและของฌานอยู่ตรงกัน             เรา ปรารถนาจะดูฌาณอะไร   ก็จะเห็นฌาณนั้นๆ     ส่งใจนิ่งลงไปกลางแผ่นฌาณ    ก็จะเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มของฌาณ    ส่วนฌาณที่เราไม่ใฝ่ใจถึง     ก็จะไปซ้อนฌาณที่เรากำลังเอาใจจดจ่อนั้น    อันนี้เป็นความรู้พื้นฐานทั่วไป

      เราประสงค์จะเข้าทุติยฌาณ    ก็นึกถึงทุติยฌาณ   แล้วจะเห็น     “จุดใสเท่าปลายเข็ม”     ซึ่งอยู่กลางแผ่นฌาณ      บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   นิ่งในนิ่งๆๆ

       ส่งใจหยุดใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของทุติยฌาณนั้นบริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ     นิ่งในนิ่งๆๆ    ทันใดนั้นเอง     จุดใสเท่าปลายเข็มของอากาสานัญจาฯ   ก็ซ้อนลงบนจุดใสเท่าปลายเข็ม ของทุติยฌาณ  เกิดเป็นแผ่นใสขึ้นใหม่  แผ่นใสนั้นคือวิญญาณัญจา

ยตนะฌาณ  น้อมธรรมกายนั่งลงบนแผ่นใสใหม่นั้น

  ลำดับสาม

      ทำอากิญจัญญายตนะฌาณ  และทำเนวสัญญานาสัญญา ยตนะฌาณ   ก็ทำนองเดียวกัน

      การเดินวิชา    ตั้งแต่ทำปฐมฌาณ     จนถึงทำเนวสัญญานา สัญญายตนะฌาณ     เรียกว่า    “อนุโลม”   จากนี้ไป    เราจะทำวิชาถอยหลัง   เริ่มตั้งแต่เดินวิชาจากเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาณไปหาปฐมฌาณ   เรียกว่า  “ปฏิโลม”  มีวิธีทำดังนี้

แนวเดินวิชารูปฌาณและอรูปฌาณแบบปฏิโลม

 หลักการ     เราตั้งความประสงค์ว่า    จะเดินฌาณถอยหลังทั้งรูปฌาณและอรูปฌาณคู่กันไป         ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชำนาญทั้งแบบอนุโลมและแบบปฏิโลมนั่นเอง          ประโยชน์สำคัญก็คือ   ทำให้แผ่นฌาณใสยิ่งขึ้น      การที่ฌาณมีความใสจะด้วยการกระทำอย่างไรก็ตาม      ย่อมมีผลกระทบถึงดวงธรรมและกายด้วย       คือ  ทำให้ดวงธรรมและกายเกิดความใสตามไปด้วย      อย่าได้เคร่งครัดว่า  ๗  เที่ยว    ยิ่งมากเที่ยวยิ่งดี    ตำราบอกไว้ว่าทำ   ๗   เที่ยวธรรมกายจึงจะตกสูญ  หาก ๗ เที่ยวแล้วธรรมกายยังไม่ตกสูญเนื่องจากความใสยังไม่พอ   ก็ต้องทำให้มากเที่ยวยิ่งขึ้นอีก  จนกว่าธรรมกายตกสูญ        เรื่องตกสูญนี้ไปเรียนกันตอนฝึกเข้านิพพานอีกครั้งหนึ่ง

  วิธีเดินวิชา

 สถานภาพเดิม  ขณะนี้ธรรมกายนั่งอยู่บนฌาณเนว   สัญญานาสัญญายตนะฌาณ (ฌาณ๘)

 ความต้องการ   จะเดินฌาณจากฌาณ  ๘  ถอยหลังมาหาฌาณ  ๗-๖-๕-๔-๓-๒-๑

 วิธีทำ   ส่งใจนิ่งลงไปกลางดวงธรรมในท้องของธรรมกายบริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ  เห็นดวงธรรมในท้องของธรรมกาย  ส่งใจนิ่งลงไปที่กลางดวงธรรม  บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ  เห็น  “จุดใสเท่าปลายเข็มซึ่งอยู่กลางดวงธรรม”    ส่งใจนิ่งลงไปที่    “จุดใสเท่าปลายเข็ม”    บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ     พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่างจะเห็นแผ่นฌาณที่ก้นของกายธรรม

      ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรมในท้องธรรมกาย     จะเห็น   “จุดใสเท่าปลายเข็มกลางแผ่นฌาณ”     ด้วย      บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆนิ่งในนิ่งๆๆ      จะเกิดอารมณ์ของฌาณสู่ใจเราทันที      เรานิ่งอยู่กับฌาณใด    อารมณ์ฌาณของฌาณนั้น   ก็จะเกิดแก่ใจเรา  หากทำใจหยุดนิ่งนานๆ   อารมณ์ฌาณจึงเกิดเต็มส่วน   เปิดตำราดูว่าฌาณใดมีอารมณ์อะไรบ้าง    นี่คือการฝึกอารมณ์ฌาณ    เหมาะแก่ผู้อยู่ตามเขาตามป่า  เพราะมีสถานที่วิเวกให้ฝึก

      ประสงค์ที่จะเข้าสู่ฌานอากิญจัญญายตนะฌาน (ฌาณที่ ๗)  บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ  ที่จุดใสเท่าปลายเข็มของฌาณ  พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป    แผ่นฌาณเนวสัญญาฯ  (ฌาณที่ ๘)   จะหายไป    แล้วแผ่นฌาณที่ ๗  ก็เข้ามาซ้อนก้นของกายธรรม  ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรมในท้องของกายธรรม        บริกรรมใจหยุดในหยุดๆ      นิ่งในนิ่งๆๆ       ก็จะเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรมและจะเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางแผ่นฌาณด้วย  จากนั้น  อารมณ์ของฌาณอากิญจัญญาฯ (ฌาณ ๗)  ก็สู่ใจเรา  ทำดังนี้เรื่อยไป

      จากฌาณ  ๗ – ๖ – ๕ – ๔ – ๓ – ๒ - ๑ เมื่อทำเร็วๆ  จะเป็นดังนี้    ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของธรรมกายแล้ว       นิ่งลงไปที่  “จุดใสเท่าปลายเข็มของดวงธรรม”    พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่างออก ไป     ให้นึกน้อมไปในว่างของฌาณ   ๖ – ๕ – ๔ – ๓ – ๒   และ   ๑  (แต่ครั้งอดีตเคยนิยมใช้คำว่า  “น้อมไปในว่าง”)

      เป็นอันยุติว่า     ท่านทำฌาณเป็นแล้ว   ทั้งรูปฌาณและ   อรูปฌาณ  และเดินวิชาอย่างอนุโลมปฏิโลมด้วย

      ต่อจากนี้ไป   เป็นการเดินวิชาที่ยากยิ่งขึ้น   เพราะจะต้อง   ใช้ญาณทัสสนะของธรรมกายดูอริยสัจ ๔  ไปด้วย 

อธิบายการเดินวิชาเพื่อดูอริยสัจ ๔ ในญาณ ๓

       อริยสัจ ๔  คือทุกข์   สมุทัย   นิโรธ   มรรค   เราเคยทราบความหมายในตำราเขาว่ากัน    แต่เราไม่เคยเห็นหน้าตาของ     ทุกข์  สมุทัย   นิโรธ   มรรค    ว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร    ภาษาทางวิชาธรรมกายมักพูดว่า   ดูธาตุธรรมละเอียดของทุกข์    สมุทัย     นิโรธ  มรรค    ว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร     อยู่ที่ไหน      ไม่เคยมีใครแสดงความรู้เรื่องนี้แก่เราได้เลย   เราเคยไดยินอาจารย์วิปัสสนาทั่วไป   อธิบายว่า

      ทุกข์   คือ   ความเจ็บปวดครวญคราง   และอะไรทั้งหลายที่เราไม่พอใจ   เราเรียกว่าทุกข์

      สมุทัย คือ   เหตุที่มาแห่งทุกข์  ได้แก่การประกอบอย่างไรจึงให้ทุกข์เกิดขึ้นได้

      นิโรธ   คือ   ความสงบทางใจ

      มรรค    คือ  ทางเดินแห่งใจ

      เขาอธิบายได้แค่นี้  และตามที่ว่ามานี้   คืออาการของทุกข์  อาการของสมุทัย  อาการของนิโรธ  และอาการของมรรค     เท่านั้น  จะให้ชี้แจงความรู้ละเอียดกว่านี้  ทำไม่ได้เสียแล้ว

     แต่วิชาธรรมกายให้ความรู้แก่เราได้ละเอียด เพราะญาณ ทัสสนะของธรรมกายกว้างไกล

     ญาณ ๓  คือญาณหยั่งรู้   ๓   ประการ   คือสัจจญาณ   ได้แก่ข้อเท็จจริงและเที่ยงแท้   กิจจญาณ   ได้แก่  งานหรือภารกิจที่ต้องทำ  คืองานค้นคว้าทางญาณทัสสนะของธรรมกาย   กตญาณ  คือการสอบสวนทดลองจนได้ข้อเท็จจริงและเที่ยงแท้     การทบทวนความรู้ทางญาณทัสสนะของธรรมกาย  ๓  อย่างนี้เรียกว่าญาณ  ๓ 

      ความรู้ของเรากับความรู้ขององค์พระศาสดานั้นต่างกันความรู้ขององค์พระศาสดานั้น   ทรงทบทวนความรู้ในสูตรญาณ ๓  เสมอ ๆ   และเวลาสอนก็ทรงยืนยันความรู้ว่าถูกต้องถึง   ๓   ครั้ง  อย่างเช่นการให้ศีล  ก็ต้องครบสูตร  ๓  คือครั้งแรก   ครั้งที่ ๒  (ทุติ)    และครั้งที่  ๓  (คติ)     ได้สอบสวนความรู้และสอบทานด้วยญาณ ทัสสนะธรรมกายของพระองค์แล้ว   ส่วนญาณทัสสนะธรรมกาย   ของเราอ่อนกว่าพระองค์มากมาย   ของเรายังผิด ๆ ถูก ๆ   ถูกน้อย   แต่ผิดมาก  น่าให้อภัยพวกเรา   เพราะบารมีธรรมเราน้อย   อินทรีย์     ไม่แก่กล้า  ท่านที่มีบารมีแก่  ย่อมมีญาณทัสสะถูกต้องกว่า

 ลักษณะของทุกข์  เป็นดวงซ้อนกัน ๔ ดวง   คือดวงเกิดเป็นดวงใส   ซ้อนด้วยดวงแก่ลักษณะดำ  และดวงเจ็บลักษณะดำ  ซ้อนอยู่ในดวงแก่   และดวงตายซ้อนอยู่ในดวงเจ็บ

      ดวงตายลักษณะดำ   ดวงแก่ลักษณะน้ำตาล     แล้วจะ   ค่อย ๆ  เข้มขึ้นเรื่อย ๆ   จนกระทั่งดำ   ที่ว่าสีน้ำตาลหมายความว่าไม่แก่จริง   ความเข้มของสีจะทวีขึ้นจนในที่สุดดำ    ก็แปลว่ากาย   มนุษย์แก่จริงๆ

 อำนาจของทุกข์    ดวงเกิดมาจรดที่ศูนย์กลางดวงธรรม  ของกายมนุษย์  คือที่  “จุดใสเท่าปลายเข็ม”  เมื่อกายมนุษย์มีอายุได้ ๑๔  ปี  เมื่อดวงเกิดมีขึ้น   แปลว่าการเกิดของสัตว์โลกมีขึ้นแล้วดวงเกิดนี้เป็นสมรภูมิให้ดวงแก่เข้ามาทำงาน  งานที่เขาทำคือ  ให้มีความแก่ยิ่งขึ้นไป  และดวงแก่นี้เป็นสมรภูมิให้ดวงเจ็บเข้ามาทำงาน  งานที่เขาทำคือ  ให้มีการเจ็บไข้ได้ป่วยยิ่งขึ้น  และดวงเจ็บนี้ เป็นสมรภูมิให้ดวงตายเข้ามาทำงาน  งานที่เขาทำคือ  ให้ตายยิ่งขึ้น

      จะเห็นว่า   เกิด   แก่  เจ็บ  ตาย   ทำงานในดวงธรรมของเราเป็นทีมงาน   เราจะเอาชนะความแก่   เจ็บ   ตาย   ไม่ได้    เกิด  เท่าไรตายเท่านั้น   ไม่เหลือไว้แม้แต่คนเดียว

 ลักษณะของสมุทัย  หมดเขตของทุกข์ไปแล้ว  ณ  ที่ดวงธรรมของกายมนุษย์นั้น  ก็เป็นสมุทัย   มีลักษณะเป็นดวง  ๓  ดวงซ้อนกันอยู่   ดวงนอกสีดำไม่เท่าไร  ดวงถัดเข้ามาสีดำกว่า  ดวง กลางสุดสีดำมาก   แปลว่าเหตุที่จะให้เกิดทุกข์มีเป็นระดับ   คือ  ดวงนอกเป็นเหตุธรรมดา   เพราะสีดำไม่เท่าไร   ดวงดำถัดมาสีดำกว่า   เป็นเหตุทุกข์ระดับกลาง   แต่ดวงกลางสุดมีสีดำมาก      ทำหน้าที่ให้เหตุแห่งทุกข์ระดับอุกฤษฏ์

 อำนาจของสมุทัย  สมุทัยเป็นผู้ทำเหตุ   โดยส่งเหตุไปที่ทุกข์   ทุกข์จะกระทำการทันที   พึงสังเกตุว่าทุกข์มี  ๔  ดวง    และ  สมุทัยก็มี  ๓  ดวง   ทุกข์กับสมุทัยทำงานเป็นทีม    รับส่งเหมือน เล่นฟุตบอล

      ไม่มีใครอยากเป็นทุกข์   ไม่มีใครอยากทำกรรมร้าย   แต่พอสมุทัยเขาส่งเหตุมาบังคับ    เราจะทำกรรมร้ายอันนั้น    ทั้งที่เรา

      ไม่อยากทำ     และเมื่อการกระทำเสร็จลงแล้ว    ทุกข์เขาก็ทำงาน  เราคือผู้รับผลแห่งการกระทำ   ก็คือเดือดร้อนกันไป   ครวญคราง กันไป

 ลักษณะของนิโรธ  เมื่อหมดเขตของสมุทัยไปแล้ว  ก็เป็นดวงนิโรธ   เป็นดวงใสเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๕  วา   อยู่ที่ดวงธรรมของกายมนุษย์

      นิโรธแปลว่า  หยุด  นิ่ง  แน่น   หมายความว่าทำใจหยุด  ทำใจนิ่ง  ทำใจแน่น   ใจหยุดเหมือนรถยนต์เบรค   ใจนิ่งเหมือนน้ำในโอ่งไม่มีกระแสลมสัมผัส   ผิวน้ำเรียบไม่เป็นคลื่น  ใจแน่น  เหมือนเสาหินปักลงไปแล้วไม่โยก  ไม่คลอน  ไม่เขยื้อน

      ที่พูดว่าทำนิโรธก็คือการทำใจหยุด  นิ่ง  แน่น  อยู่กับดวงธรรมของเรา   ขณะที่เราทำใจ   หยุด  นิ่ง  แน่น  อยู่กับดวงนิโรธ  ของเรานั้น   หากสภาพใจมีอาการส่าย    ไหว   ริบ   รัว  แปลว่าเรา  สู้ทุกข์กับสมุทัยไม่ได้    จำต้องฝึก  หยุด  นิ่ง  แน่น  กันใหม่   ต้อง  ให้ใจหยุดจริง   นิ่งจริง  แน่นจริง  ทุกข์และสมุทัยจึงจะกลัว

 อำนาจของนิโรธ    ดวงนิโรธนี้     เมื่อเราฝึกใจเข้าถึงได้   คือทำใจหยุด  นิ่ง  แน่น  ที่ดวงนิโรธได้   สามารถกำจัดสมุทัยได้  และเมื่อไม่มีสมุทัย  ทุกข์ก็เกิดขึ้นไม่ได้   ดังนั้น   นิโรธมีอำนาจ   กำจัดได้ทุกอย่าง

 ลักษณะของมรรค    มรรคแปลว่าทางเดิน   คือดวงศีล  ดวงสมาธิ   ดวงปัญญา  ซึ่งอยู่กลางดวงธรรมของกายมนุษย์

      อีกความหมายหนึ่ง   มรรคคือดวงธรรมประจำกาย   ดวงธรรมประจำกาย   คือ   ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน   ดวงศีล   ดวงสมาธิ   ดวงปัญญา   ดวงวิมุติ   ดวงวิมุติญาณทัสสนะ   ดวงธรรมเหล่านี้   มีลักษณะเป็นแก้วขาวใส   กลมรอบตัวเหมือนลูก   ฟุตบอล

      ดวงธรรมเหล่านี้เป็นทางเดินของใจ    ลักษณะของใจที่เดินคือ  ทำใจหยุด  ใจนิ่ง  กลางดวงธรรม   ตรงจุดใสเท่าปลายเข็มซึ่งอยู่กลางดวงธรรมทุกดวง หยุดในหยุดไม่ถอยหลัง   ใจหยุดคือใจเดิน   ใจไม่หยุดคือใจไม่เดิน

 อำนาจของมรรค   ดวงมรรคนี้ กำจัดสมุทัยได้พอ ๆ  กับดวงนิโรธทีเดียว   ทำหน้าที่เป็นคู่ค่ายให้แก่ดวงนิโรธ    เพราะดวงนิโรธอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานของกาย      และในขณะเดียวกัน   ดวงนิโรธคอยกำจัดไม่ให้สมุทัยเข้ามาถึงมรรคได้   เว้นแต่เกินกำลังของเขา

* * * * *

  ใครเป็นผู้ทำ  ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค

      บาปหรืออกุศล  เป็นผู้ทำทุกข์  สมุทัย

      บุญหรือกุศล  เป็นผู้ทำนิโรธ  มรรค

      คำสอนของพระบรมศาสดาที่ว่า   ไม่ทำบาปทั้งปวง  หากทำเข้า    เขาก็ทำทุกข์และสมุทัยให้   คือบาปเป็นผู้ทำให้แก่สัตว์โลกทุกสถาน  เพราะบาปเขาก็มีพระพุทธเจ้า

      คำสอนของพระบรมศาสดาที่ว่า   ทำการกุศลให้บริบูรณ์  หากเราทำกุศล   พระบรมศาสดาก็ทำนิโรธและมรรคให้แก่สัตว์โลก  เพราะสัมมาทิฏฐิก็มีพระพุทธเจ้า

      คำสอนที่ว่า  ทำใจให้ใส  นับว่าสำคัญมาก

หากทำใจให้ใสได้   ก็เข้าถึงนิโรธเข้าถึงมรรค

 ทำให้นิโรธและมรรคมีพลังขึ้น  เป็นผลให้ทุกข์

 และสมุทัยไม่มีโอกาสได้ปกครอง

      โปรดสังเกตว่า  ดวงธรรมของเราดวงเดียวนี้  มีผู้ปกครอง  ๒  ฝ่าย  คือฝ่ายมิจฉาทิฏฐิผู้เป็นเจ้าของทุกข์และสมุทัย   และฝ่าย  สัมมาทิฏฐิผู้เป็นเจ้าของนิโรธและมรรค   คราใดที่สภาพใจของเรา  สงบระงับ  นิโรธและมรรคทำหน้าที่อำนวยความสุขให้  หากคราใด  ใจของเราไม่สงบ   มีอาการส่าย   ไหว   ริบ   รัว   ทุกข์และสมุทัย   เป็นผู้ทำหน้าที่ส่งความทุกข์ร้อนมาให้   เหตุนี้เอง  ที่เราอาจทำกรรมร้ายบ้าง  และทำกรรมดีบ้างสลับกันไป

      การที่พระบรมศาสดาทรงสอนให้สัตว์โลกทำใจให้ใส    ให้ประกอบการกุศล    และให้เว้นกรรมบาป     ก็เพื่อให้เรารอดพ้นจากการปกครองของทุกข์และสมุทัยนั่นเอง

      กลับมาดูชาวโลกของเราบ้าง  มีใครบ้างไหม   ที่ทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกาย   เพราะการกระทำเช่นนี้    เป็นการทำนิโรธ  เพื่อเข้ามรรค   ใครทำอย่างนี้ได้ก็ปลอดภัย   เพราะเขาได้ทำใจให้ใสตามคำสอนของพระบรมศาสดาแล้ว    เป็นผลให้นิโรธและมรรค   ส่งผลเป็นความสุข   คำตอบก็คือ   มีเรียนวิธีทำใจใสกันมาก    แต่ไม่วางใจที่ศูนย์กลางกาย   ปรากฏว่าใจสงบระงับ   เกิดความสุขใจสบายใจ   แต่เขาจะไม่เห็นของจริง  ๔  ประการคือไม่เห็นอริยสัจ  ๔  ไม่ว่าจะฝึกใจกี่ปีกี่ชาติ   เขาก็ไม่มีโอกาสได้เห็นอริยสัจ   ๔  แน่นอนเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น   คำตอบก็คือ ไม่ตั้งใจที่ศูนย์กลางกาย จึงไม่ถูกแนวของสัมมาทิฏฐิ กลับเป็นแนวของทุกข์และสมุทัยที่มีอยู่  แล้วในดวงธรรมของเขาผู้นั้น  ทั้งนี้  เนื่องจากดวงนิโรธและดวง   มรรคของเขา  มีพลังสู้ทุกข์สมุทัยไม่ได้นั่นเอง

      เราจะเห็นว่าเกจิอาจารย์หลายท่าน   ได้รับยกย่องว่าเป็น  พระอรหันต์   หากเราถามว่า   พระอาจารย์ฝึกฝนอบรมมาแนวใด   ได้เห็นอริยสัจ  ๔  หรือเปล่า  อยู่ที่ไหน  อย่างไร   เมื่อฟังคำตอบแล้วเราพอจะให้ความเห็นว่า  มีความเป็นจริงเพียงใด  และแค่ไหนได้  เพราะความจริงมีอยู่ว่า   การเห็นอริยสัจ ๔  นั้น  เห็นได้โดยญาณทัสสนะของธรรมกายเท่านั้น   ดังที่เราจะฝึกต่อไปนี้

       ได้อธิบายถึงลักษณะของ   ทุกข์   สมุทัย  นิโรธ   มรรค    และอำนาจของดวงเหล่านั้น    เพื่อประกอบความเข้าใจพอสมควร  แล้ว   จากนี้ไป  เป็นวิธีเดินวิชา  เพื่อให้เห็นจริง

แนวเดินวิชา

 สถานภาพเดิม  ท่านได้เดินวิชาสมาบัติเป็นอนุโลม  ปฏิโลม     คือการเดินวิชา  ๑๘  กาย      แบบเดินหน้าและถอยหลังด้วยการผ่านองค์ฌาณ  ทั้งรูปฌานและอรูปฌานไปแล้ว   เห็นว่า  ดวงธรรมใส   กายใส   แผ่นฌานใส   ถึงขีดที่จะดูอริยสัจ  ๔  ได้แล้วสมมุติว่าขณะนั้น    เราอยู่กับธรรมกายพระอรหัตต์   และธรรมกายพระอรหัตต์เข้าฌาน  ๘  คือเนวสัญญา ฯ

 วิธีเดินวิชา

      ขณะนั้นใจเราอยู่กับธรรมกายพระอรหัตต์  บริกรรมใจ   หยุดในหยุดๆๆ     นิ่งในนิ่งๆๆ     กลางดวงธรรมของธรรมกายพระอรหัตต์   ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มของดวงธรรม   บริกรรม ใจหยุดในหยุดๆๆ     นิ่งในนิ่งๆๆ      จุดใสเท่าปลายเข็มของดวง   ธรรมจะอยู่ตรงกับจุดใสเท่าปลายเข็มของฌานเนวสัญญาฯ

 จากนั้น  ส่งใจธรรมกายนิ่งลงไปกลางดวงธรรมของกาย  มนุษย์  โดยกำหนดวิธีทำดังนี้

 ก. การเข้าฐานต่างๆ  ของกาย

     น้อมส่งใจของธรรมกายเข้าไปตามฐาน  ๗  ฐานของกาย  มนุษย์   คือส่งใจนิ่งไปที่ปากช่องจมูกของกายมนุษย์   ท่านที่เป็น  หญิงส่งใจนิ่งไปที่ปากช่องจมูกซ้าย   ท่านที่เป็นชายส่งใจนิ่งไปที่ ปากช่องจมูกขวา  บริกรรมในใจ   หยุดในหยุดๆๆ  จากนั้น  เลื่อนใจไปที่เพลาตาของกายมนุษย์   ท่านที่เป็นหญิงเพลาตาข้างซ้าย   ท่านชายเพลาตาข้างขวา   บริกรรมในใจหยุดในหยุดๆๆ   จากนั้น  เลื่อนใจไปที่จอมประสาทของกายมนุษย์   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆจากนั้น     เลื่อนใจไปที่ปากช่องเพดานของกายมนุษย์     บริกรรม   ในใจ   หยุดในหยุดๆๆ  จากนั้น   เลื่อนใจไปที่ปากช่องลำคอของ  กายมนุษย์   บริกรรมในใจหยุดในหยุดๆๆ   จากนั้น   เลื่อนใจไปที่  ฐานของศูนย์กลางกาย   คือศูนย์กลางกายฐานที่ ๖  ( ระดับสะดือ  ตรงเส้นด้ายตัดกัน ๒  เส้น)   บริกรรมในใจหยุดในหยุดๆๆ   จากนั้นเลื่อนใจไปที่ศูนย์กลางกายคือศูนย์ถาวรได้แก่ฐานที่  ๗    บริกรรม  ในใจหยุดในหยุดๆๆ

 ข. การเดินวิชาเพื่อเห็นอริยสัจ

     จะเห็นดวงธรรมในท้องของกายมนุษย์    แล้วส่งใจนิ่งลง  ไปที่กลางของดวงธรรมนั้น   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    อธิษฐาน  ต่อองค์พระศาสดา   ขอพระองค์ได้ทรงโปรด    ขอให้เห็นอริยสัจ   ตรงตามความเป็นจริง     จากนั้น    จะเห็น  “จุดใสเท่าปลายเข็ม”    ซึ่งอยู่กลางดวงธรรม   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   จากนั้น   จุดใส  เท่าปลายเข็มจะว่างและหายไป   ในว่างนั้น   ท่านจะเห็นดวง   ๔  ดวงซ้อนกัน   คือดวงเกิดเป็นดวงใส   ซ้อนด้วยดวงแก่ลักษณะ   กระเดียดไปทางดำ    และในดวงแก่ซ้อนด้วยดวงเจ็บ    ลักษณะ   เป็นดวงดำ   และในดวงเจ็บซ้อนด้วยดวงตาย   ลักษณะดำ

 ค. การพิจารณาในญาณ ๓

     วิธีพิจารณา    ต้องบริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    ตลอดไปเพราะถ้าใจไม่หยุดจริง   จะเห็นอย่างเลือน ๆ   ลาง ๆ     หรือเห็น  ๆ  หาย ๆ   ไม่ติดต่อกัน  จะทำให้เกิดความสงสัยทันที

      เมื่อสภาพใจนิ่งได้ส่วน   ธรรมกายจะส่งรู้ส่งญาณทัสสนะ   ให้ความเข้าใจแก่เราเอง  โดยเป็นความรู้สึกเกิดขึ้นแก่ใจเราอย่างสว่าง  และชัดเจน  หมดข้อข้องใจใด ๆ

      ดวงเกิดเป็นดวงใส     ดวงนี้มาสู่ดวงธรรมเมื่อเราอายุได้    ๑๔  ปี    หากดวงเกิดไม่มี   แปลว่าการเกิดจะมีขึ้นไม่ได้    เราก็   ทราบว่าความละเอียดของการเกิดเป็นอย่างนี้     ดวงนี้มีขึ้นก่อน   แล้วจึงมีการประเวณีกิจทีหลัง   ดวงเกิดนี้เป็นตัวบังคับให้มีการเกิด

      เมื่อมีดวงเกิดแล้ว     กลับมีดวงแก่มาซ้อนในดวงเกิด   เป็นการบังคับให้การเกิดต้องมีแก่แน่นอน   หากดวงแก่ไม่มาซ้อน  เราก็จะไม่แก่   ไม่เหี่ยวย่น    ที่เราหูตาฟางก็เพราะดวงแก่นี้เอง   ความละเอียดของการเกิดและการแก่เกี่ยวข้องกันอย่างนี้    แต่เรา   ชาวโลกไม่ทราบ    ทราบแต่ว่า     เมื่อเป็นเด็กแล้วก็โตเป็นผู้ใหญ่   ตอนโตๆนั้น    หูตามัว   หลงๆลืมๆ     ครั้นเราเรียนวิชาธรรมกาย      จึงทราบว่าความละเอียดของการเกิดและการแก่นี้      มีความ    เกี่ยวข้องกันในธาตุธรรมละเอียด   เป็นอย่างที่กล่าวนั้น

      ดวงเจ็บซ้อนอยู่ในดวงแก่   แปลว่าเมื่อแก่แล้วจะต้อง   เจ็บไข้   การเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งหลาย  มาจากดวงเจ็บนี้เอง   ถ้าไม่มีดวงเจ็บมาซ้อนดวงแก่   ถึงเราจะแก่แต่เราก็ไม่เจ็บไข้   และเมื่อเราไม่เจ็บไข้   เราก็ไม่ตาย   การที่เราเจ็บไข้ได้ป่วย  เป็นเพราะมีดวงเจ็บมาซ้อนอยู่ในดวงแก่นั่นเอง

      ดวงตายซ้อนอยู่ในดวงเจ็บ  เหตุที่เราต้องตาย   เพราะ  ดวงตายมาซ้อนดวงเจ็บ   หากไม่มีดวงตาย   ถึงเราจะเจ็บแต่เราก็ไม่ตาย  การที่เราต้องตายเพราะดวงตายมาซ้อนดวงเจ็บ

      จะเห็นว่า   เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย   มีความเกี่ยวข้องกัน    สัตว์โลกทั้งหลายเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด   ไม่มีใครรอดจาก   ความเกิด  แก่  เจ็บ  ตายไปได้เลย    เกิดเท่าไรตายทั้งหมด  ไม่มีรอดสักราย   และตัวเราเองก็ต้องตายด้วย

      พิจารณาตามที่กล่าวนี้ ยังไม่เข้าข่ายญาณ ๓  เพราะยังไม่สลดใจ ต่อเมื่อเกิดความรู้สึกทางใจว่า  “สลดใจ”  จึงจะเข้าข่ายญาณ  ๓

      ขณะดูและพิจารณาอยู่นั้น เกิดความสลดใจต่อการเกิดเพราะเกิดมาแล้วต้องแก่  เจ็บ  และตายในที่สุด   ใจเราเกิดความ  “เบื่อ”   เบื่อแสนเบื่อ   เบื่อแล้วไม่อยากได้อะไร   เงินก็ไม่ต้องการ  สาวงามเราก็ไม่อยากได้     ให้เป็นใหญ่ในแผ่นดินก็ไม่เอา    เกิด   ความสลดใจต่อการแก่ เกิดความสลดใจต่อการเจ็บ  และสลดใจ  ต่อความตายที่จะมาถึง   ต่อมาเกิดอารมณ์  “คิดอยากเอาตัวรอด”  หากไม่เอาตัวรอด   เราก็เวียนเกิดเวียนตายกันอยู่อย่างนี้    ทาง  รอดนั้นคือทางใด  จะต้องทำใจอย่างไรจึงจะรอดได้

      ให้ชัดเจนแก่ใจว่า   เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  เป็นทุกข์    จึง  จะเป็นสัจจญาณ     โดยญาณทัสสนะว่าเป็นจริงอย่างนี้

      เป็นกิจจญาณ   โดยแจ้งแก่ญาณทัสสนะว่าเป็นกิจที่เรา  ใฝ่รู้โดยใจ   หากเพิกเฉยถือว่าประมาท

      เป็นกตญาณ   โดยญาณทัสสนะว่าทบทวนความจริง   เรื่องนี้แล้วหลายครั้ง   พิจารณาจนเห็นชัดเจนรู้ชัดแจ้งแล้ว

 ง. การเดินวิชาเพื่อเห็นสมุทัย

      เป็นการเดินวิชาติดต่อกันไป   อย่าพักการฝึก   เพราะ   ขณะนั้นเกิด “เบื่อ”   และอยากให้  “ตัวเองรอด”   ให้เดินวิชาต่อไปทันที

      บริกรรมในใจ    หยุดในหยุด ๆๆ    นิ่งในนิ่งๆๆ     ครู่หนึ่งเห็น “ดวงดำซ้อนกันอยู่  ๓  ดวง”  นี่คือดวงสมุทัย   ดวงนอกไม่ดำเท่าไร  ดวงถัดมาดำยิ่งขึ้น   ดวงในสุดดำเป็นนิลทีเดียว

      ทันใดที่เราเห็นดวงดำ  ๓  ดวงซ้อนกัน    ธรรมกายบอกแก่เราทันทีว่านี่คือดวงสมุทัย   เห็นได้ยากนัก   กว่าจะฝึกให้เห็นได้แทบอ่อนใจ

      ก่อนนี้เราเห็นทุกข์มี  ๔  ดวงซ้อนกัน   มีดวงขาวดวงเดียวคือดวงเกิด   นอกนั้นไม่ขาว   แต่กระเดียดไปทางดำ   คราวนี้มาเห็นสมุทัย   เป็นดวงดำซ้อนกัน  ๓  ดวง   พิจารณาดูทีละดวง   คือ  ดวงนอกไม่ดำเท่าไร  สร้างเหตุให้เราทำชั่ว  แต่เรายังไม่ทำ    ดวงถัดมาก็ส่งเหตุออกมาอีกชุดหนึ่ง  ดูเราว่าจะทำกรรมชั่วบ้างหรือไม่  ในที่สุด    ดวงในสุดซึ่งอยู่กลาง    มีความดำกว่าดวงอื่น   เขาจะส่งเหตุมาอีกระลอกหนึ่ง   ว่าเราจะทำกรรมชั่วตามเหตุที่เขาปล่อยมาชุดนี้หรือไม่

       ดังนั้น    การส่งวิชาของเขามี  ๓  ชั้น   หรือเรียกอีกอย่างว่า  ๓  ชุด    โดยส่งไปที่แก่    เจ็บ    และตาย   ให้แก่   เจ็บ    ตาย  ไปบังคับเกิดคือตัวเรา   ให้ตัวเราเกิดทุกข์ให้จงได้

       หากไม่มีสมุทัย  แก่   เจ็บ  ตาย ก็ทำงานไม่ได้  นี่คือ  ถ้าไม่มีสมุทัยก็ไม่มีทุกข์   สมุทัยเป็นเหตุ   ทุกข์เป็นผล    สมุทัยเป็น   ผู้บังคับให้ทำ    ทุกข์เป็นผู้ให้ผลแห่งการกระทำ    สมุทัยบังคับพระอริยเจ้าไม่ได้   แต่เขาบังคับเราได้ทั้งหมด   สัตว์โลกทั้งหลายอยู่ในบังคับแห่งสมุทัยทั้งสิ้น  กาย  วาจา  ใจ   ของเราถูกสมุทัยบังคับ  ย่อมทำแต่กรรมชั่ว    ผลแห่งการทำกรรมชั่วนั้น     ให้ผลเป็นเดือด ร้อนทุกข์ร้อนในรูปของทุกข์   โศก   โรค  ภัย

      การพิจารณาถือหลักให้เกิดความเบื่อ  และคิดหาทาง  เอาตัวรอด  จึงจะเข้าหลักญาณ  ๓  ตามที่กล่าว

      เราไม่อยากมีทุกข์  ไม่อยากมีสมุทัยในดวงธรรมของเรา  เพราะทุกข์และสมุทัยให้ผลในทางร้าย     แต่ทุกข์และสมุทัยก็เกิดมีในดวงธรรมของเราแล้ว    เราหนีทุกข์และสมุทัยไม่พ้น    แต่เราก็ ต้องคิดหนี   เพราะเราสลดใจต่อการเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  มาแล้ว ครั้นเรามาเห็นสมุทัยเข้าอีก  เราคิดแต่จะเอาตัวรอดสถานเดียว

 จ. การเดินวิชาเพื่อเห็นนิโรธและมรรค

      ขณะที่เราเห็นทุกข์และสมุทัยมาแล้วนั้น  เราบริกรรมใจ  หยุดในหยุดๆๆ  นิ่งในนิ่งๆๆ  ตลอดไป

      ความที่เราสลดใจ   เบื่อ   และอยากเอาตัวรอด   ภาวะ  นั้นเอง   ใจเราหยุดและนิ่งถูกส่วน   เราได้เห็น  “ดวงนิโรธ”   ทันที  มีลักษณะเป็นดวงใส   วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๕ วา   บริกรรมใจ  หยุดในหยุดๆๆ     นิ่งในนิ่งๆๆ     ลงไปที่ดวงนิโรธนั้น     นิ่งลงไป  กลางดวงธรรม   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   แล้วเห็น  “จุดใสเท่าปลายเข็ม”   ซึ่งอยู่กลางดวงนิโรธนั้น

      ทันใดที่เราเห็นดวงนิโรธ   เป็นผลให้ดวงสมุทัยเลือนลางลงทันที    และเมื่อเราส่งใจนิ่งลงกลางจุดใสเท่าปลายเข็มของดวงนิโรธ   ทำให้ดวงสมุทัยจางลงและหายไป    เราจึงทราบทันทีว่า  ดวงนิโรธกำจัดสมุทัยได้   และเมื่อดวงสมุทัยไม่มี    เป็นผลให้ดวงทุกข์หายไปด้วย   พึงฝึกนาน ๆ   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ  นิ่งในนิ่งๆๆ    อยู่นานๆ  เพื่อให้เข้ากฎเกณฑ์ของญาณ  ๓  คือทดลองตรวจสอบหลายเที่ยว   จนกระทั่งเราสว่างใจ    หมดความสงสัย  ให้ผลทางญาณทัสสนะออกมาเป็นสัจจญาณ  กิจจญาณ   และ  กตญาณ

      บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    ใจเรายิ่งสงบเป็นเอกัคตา  ความรู้สึกทางใจเกิดขึ้นว่า    การกำจัดทุกข์และสมุทัยไม่มีแค่นี้   ยังต้องมีความรู้ที่พิสดารออกไป    ครั้นบริกรรมใจหยุดในหยุดๆ   นิ่งในนิ่งๆ   ยิ่งขึ้น   ธรรมกายก็ต่อกล้องส่องญาณทัสสนะให้เห็น

      ดวงศีล  ดวงสมาธิ  ดวงปัญญา  ในท้องของกายมนุษย์นั้น

      เมื่อใจมานิ่งอยู่กลางดวงศีล   ดวงศีลก็ทำหน้าที่ให้การรักษาใจ   สภาพใจของเราประณีตยิ่งขึ้น   ส่งใจนิ่งกลางดวงศีล  บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    เห็นจุดใสเท่าปลายเข็มของดวงศีล  หยุดนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของดวงศีล  จุดใสเท่าปลายเข็มของดวงศีลจะว่างออกไป   เห็นดวงสมาธิ   ส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของดวงสมาธิ   ความสงบระงับทางใจประณีตยิ่งขึ้น  เพราะดวงสมาธิให้การรักษาใจ    ทุกข์และสมุทัยจะให้ความเดือด ร้อนไม่ได้   และพอจุดใสเท่าปลายเข็มของดวงสมาธิหายไป  จะเห็นดวงปัญญา    ส่งใจนิ่งลงกลางดวงปัญญา   เห็นจุดใสเท่า   ปลายเข็มของดวงปัญญา  สภาพใจยิ่งสงบระงับขึ้น   ความนึกคิด  ฉลาดขึ้น  เพราะดวงปัญญาให้การรักษาใจ

      การที่เราเดินทางจากดวงศีลมาถึงดวงสมาธิและถึงดวงปัญญาของกายมนุษย์  เป็นการเดินหนีทุกข์และหนีสมุทัย   หากเราเดินทางเพียงแค่นี้  เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น   ทางเดินอันยิ่ง  นั้นยังมีอยู่   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ เรื่อยไป   ครั้นใจหยุดถูก  ส่วน   เห็นกายฝันตัวเราเอง   ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงศีล   สมาธิ     ปัญญา  ของกายฝัน   กายทิพย์   กายพรหม   กายอรูปพรหม    โคตรภู   พระโสดา   พระสกิทาคา  พระอนาคามี   พระอรหัตต์     เดินวิชาเข้าดวงศีล   ดวงสมาธิ  ดวงปัญญาของกาย   เรื่อยไป   ความคิดอันหนึ่งเกิดแก่เราว่า   การเดินทางเพื่อหนีทุกข์หนีสมุทัยนั้น  ได้แก่การ  “เข้าถึงมรรค”  มรรคคือดวงศีล  สมาธิ  ปัญญา  ของกาย

      ขณะที่เดินวิชาเข้าดวงศีล   สมาธิ  ปัญญา  นั้น    พึง  พิจารณาให้เข้าหลักของญาณ  ๓  ตามที่กล่าวแล้ว

      สรุปว่า  การฝึกใจเพื่อเห็นอริยสัจ  ๔  คือทุกข์   สมุทัย  นิโรธ   มรรค   ก็จบเพียงนี้

      แต่การดูมรรคตามวิธีที่กล่าวมานี้   เป็นการดูที่ละเอียด  เกินไป   ในตำราคู่มือสมภาร  ท่านให้ดูมรรคของกายมนุษย์เท่านั้น  แต่ผมให้ดูทุกกายทีเดียว

อธิบายการเดินวิชา

เดินฌานสมาบัติดูอริยสัจ  ๔  เกิดกายธรรม

      บทนี้   มีการฝึกหลายอย่าง   อันเป็นเรื่องสำคัญของวิชา ธรรมกาย  จึงขอร้องให้ท่านผู้ศึกษาสนใจให้มาก

      คำ  “เดินสมาบัติ”  กับคำ  “เดินฌานสมาบัติ”    มีความ  หมายต่างกัน   เดินสมาบัติ   หมายความว่า   เดินวิชา  ๑๘  กาย  จากกายมนุษย์ไปหาธรรมกายพระอรหัตต์    ส่วนการเดินฌาน  สมาบัติ   หมายความว่า   เดินวิชา  ๑๘  กายและเข้าฌานไปด้วย ยากกว่าการเดินสมาบัติ   เพราะต้องทำฌานไปด้วย    การเดิน   สมาบัติหรือเดินฌานสมาบัติ   ปกติทำทั้งวิชาเดินหน้าและวิชา  เดินหลัง   พูดตามคำพระก็ว่าอนุโลมปฏิโลม

      ความประสงค์ของการเดินฌานสมาบัติคือ   ให้กายใส  ให้ดวงธรรมใส     และให้ฌานใส    ยิ่งทำมากเที่ยวยิ่งดี    โบราณ  เขาถือ  ๗  เที่ยว  ตามที่กล่าวมาแล้ว   หากการเดินวิชาไม่ถึงขั้น  “ใส”   ธรรมกายจะไม่ตกสูญ   และเมื่อไม่ตกสูญก็ไม่อาจเข้า  นิพพานได้    เราอยากเข้านิพพาน   แต่วิชาไม่ไปให้   ดังนั้น   การ  ทำวิชาสมาบัติต้องทำทุกวัน   ความไม่ใสคืออวิชชา   ความใส     คือวิชา    โปรดเข้าใจว่า   เกิดอวิชชาได้ทั้งในกายและนอกกาย    เรามักพูดว่า   เกิดอวิชชาทั้งภายนอกภายใน   วิธีกำจัดอวิชชาคือ  เดินสมาบัติ   จะให้ดีก็เดินฌานสมาบัติเสียเลย

      การดูอริยสัจ ๔   เราฝึกมาแล้ว   ดังนั้น   บทฝึกนี้ยากขึ้น  เพราะเราต้องทำงานหลายอย่าง เราฝึกมาแล้วทั้งนั้น  เพียงแต่   เอาหลายอย่างมารวมกัน   แต่ส่วนที่พูดว่าเกิดกายธรรมก็คือเกิดธรรมกายนั่นเอง

      การตกสูญคืออย่างไร?   ต่างกับศูนย์กลางกายอย่างไร? ออกเสียงเหมือนกัน   เขียนต่างกัน  คำว่าสูญ  ก็คือ   สุญญตา  แปลว่าความว่างใส   ประดุจท้องฟ้าปราศจากเมฆ    สูญเกิดจาก   “กลางของดวงปัญญาว่างออกไป”   (จุดใสเท่าปลายเข็ม)   ส่วนคำว่าศูนย์   หมายถึง   ศูนย์กลางของกายคือฐานที่   ๗  นั่นเอง

      คำถามต่อไปมีว่า การตกสูญมีกี่กรณี  ตอบว่ามี ๒  กรณี  คือตกสูญที่ดวงปัญญาและตกสูญที่ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

      การตกสูญที่ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  ได้แก่การเข้าอายตนะนิพพาน    คือนิพพานอันเป็น  ที่ประทับของผู้ได้มรรคผลนิพพาน   ส่วนการ  ตกสูญที่ดวงปัญญานั้น   ได้แก่การเข้านิพพาน  ในกายของตัวเราเอง

      มีเสียงวิจารณ์เป็นทำนองว่า    การเข้าอายตนะนิพพาน  มีความจำเป็นหรือไม่  ที่จะต้องเดินวิชาสมาบัติเป็นอนุโลมปฏิโลม  ๗  เที่ยวก่อน    ตอบว่าจำเป็น   เพราะต้องการให้กายใสให้ดวง  ธรรมใส    ให้ฌานใส   เพราะถ้าอะไรต่อมิอะไรไม่ใส   จะไม่เห็น  อายตนะนิพพานและธรรมกายไม่ตกสูญ     เมื่อไม่ตกสูญก็เข้า  อายตนะนิพพานไม่ได้   หากตอบว่าไม่จำเป็น   ก็หมายความว่าธรรมกายของเราบริสุทธิ์แท้    เพียงใจอยากเข้านิพพานเท่านั้น  ธรรมกายก็เดินวิชาเป็นอัตโนมัติไปเลย

      สำหรับกรณีที่หมั่นฝึกวิชาอยู่แล้ว   ไม่จำเป็นต้องเดิน   วิชา  ๗  เที่ยวก็ได้  แต่โบราณกาลเชื่อกันว่า   ๗   เที่ยว   เราก็    ๗   เที่ยวด้วย   เรื่องก็มีอยู่เท่านี้เอง 

แนวเดินวิชา

 สถานภาพเดิม  ขณะนี้  ท่านเห็นธรรมกาย  มีเป้าหมาย  ว่า  จะทำรูปฌานและอรูปฌานแล้วเดิมสมาบัติและดูอริยสัจ  ๔  แล้วประกอบเป็นกายธรรม

 ลำดับแรก

      ทำใจหยุดและนิ่งที่ดวงธรรมของธรรมกาย  บริกรรมใจ  หยุดในหยุดๆ   นิ่งในนิ่งๆ   ให้เห็นดวงธรรมในท้องของธรรมกาย  เห็นดวงธรรมแล้ว   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   กลางดวงธรรม    จนเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มซึ่งอยู่กลางดวงธรรม   ส่งใจหยุดนิ่งลงกลางจุดใสเท่าปลายเข็มนั้น

      จากนั้น  นึกดูดวงธรรมในท้องของกายมนุษย์  (จะเดินใจไปตามฐาน  ๗  ฐานของกายมนุษย์ก็ได้     ดังที่เคยกล่าวไว้แล้ว)  ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของกายมนุษย์   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆ  นิ่งในนิ่งๆ   เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม   ซึ่งอยู่กลางดวงธรรมนั้น   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    นึกขยายดวงธรรมให้โตออก    นี่คือ  ปฐมฌาน  แล้วธรรมกายเข้านั่งกลางแผ่นฌานนั้น

      จากนั้น   ส่งใจนิ่งลงไปในท้องของกายทิพย์   เห็นดวงธรรม  ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรม  เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม  แล้วนึก  ขยายดวงธรรมให้โตออกเป็นแผ่นใส   นี่คือทุติยฌาน   น้อม  ธรรมกายนั่งบนแผ่นใสของทุติยฌาน   แล้วแผ่นใสของปฐมฌานจะไปซ้อนแผ่นทุติยฌาน  (ขณะที่แผ่นของฌานซ้อนกันนั้น   จะ  เกิดความใสของแผ่นฌาน)

      ในทำนองเดียวกัน  ทำเร็วๆ  น้อมใจธรรมกายดูดวงธรรมของกายพรหม  เห็นดวงธรรมแล้วขยายให้ใหญ่ นี่คือตติยฌาน  ธรรมกายน้อมไปนั่งบนแผ่นตติยฌาน   แล้วแผ่นของทุติยฌาน  และปฐมฌานเข้าไปซ้อนล่างของฌานใหม่  (ตติยฌาน)

      ส่งใจธรรมกายลงไปในท้องของกายอรูปพรหม   เห็นดวงธรรม   ขยายดวงธรรมให้ใหญ่   นี่คือจตุตถฌาน   น้อมธรรมกาย  นั่งบนฌานที่เกิดใหม่  (จตุตถฌาน)   ฌานทั้ง ๓  ที่เกิดก่อนก็ไปซ้อนล่างของจตุตถฌาน

      นี่คือการทำรูปฌาน    คือการขยายดวงธรรมของกาย  โลกีย์ให้ใหญ่   ให้ได้รูปร่างเหมือนเขียงหั่นผัก   ส่วนการเดินฌาน  ก็คือการที่แผ่นฌานมาซ้อนกัน

  ลำดับสอง

      คือการทำอรูปฌาน  ตามที่เคยกล่าวมาแล้ว   โปรดพลิกไปดูบทฝึกที่กล่าวนี้ใหม่   ขอสรุปว่า  การทำอรูปฌานนั้น   ทำ   จากรูปฌาน   คือขยายดวงธรรมของรูปฌานนั่นเอง   ดวงธรรม  ของรูปฌานคือจุดใสเท่าปลายเข็ม   ซึ่งอยู่กลางแผ่นฌาน   จะ  เรียกจุดใสเท่าปลายเข็มกลางแผ่นฌานว่าอย่างไร      ก็เรียกไป   ข้าพเจ้าไม่ทราบจะเรียกอย่างไร   ก็เลยเรียกดวงธรรมของฌาน  เมื่อขยายจุดใสเท่าปลายเข็มของแผ่นฌานออกไป   แผ่นฌานใหม่

      ที่เกิดขึ้น   ลักษณะจางจนมองไม่เห็น   ลักษณะของความจางมองไม่เห็นนี้เอง   เราเรียกว่าอรูปฌาน   แปลว่าฌานที่ละเอียดกว่า    รูปฌาน     ความละเอียดของอรูปฌานนี้     เรามองเห็นเป็นว่าง   หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านมักพูดว่า ในว่างใสของฌาน...เราทราบว่า เป็นฌานอะไรนั้น   ดูที่ความรู้สึกแห่งใจ   ใจเราจรดอยู่กับฌานใด  ย่อมมีความรู้สึกไปตามอารมณ์แห่งฌานนั้นๆ

      ถามว่าใครเป็นผู้ทำฌาน   ตอบว่าธรรมกายเป็นผู้ทำ  ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน   ทำไมไม่ใช้กายมนุษย์ทำ   กายมนุษย์  ทำไม่ได้   เพราะใจของกายมนุษย์ประณีตไม่พอ   แต่กายมนุษย์ คือตัวเรานี้ได้อานิสงส์ด้วย   คือมีความรู้สึกในฌานตามธรรมกาย  ไปด้วย   ถ้าใจของกายมนุษย์สะอาด     ก็จะมีความรู้สึกชัดเจน   หากใจสะอาดไม่พอ  ก็พอลิ้มรสอารมณ์ฌานเฉียดๆ  เฉี่ยวๆ

      ได้ยินว่ามีเกจิอาจารย์หลายท่านได้ฌานสูง   ดูว่าท่านมี  กิริยาสงบเรียบร้อยเหลือเกิน     กรณีเช่นนี้เราพิจารณาได้ว่า     การ เจริญภาวนาเมื่อใจสงบแล้ว   ย่อมเกิดอารมณ์ฌานขึ้นได้ทั้งนั้น  แต่นั่นเป็นเพียงอารมณ์ฌานเท่านั้น ไม่ใช่ตัวฌาน ไม่ใช่แผ่นฌาน

      การทำตัวฌานได้นั้น  ทำได้สถานเดียว คือเป็นธรรมกายเท่านั้น   และการเป็นธรรม กายนั้น   เป็นง่ายอยู่หรือ ?

      การทำเป็นอย่างที่เรียกว่าเป็นอุปนิสัยปัจจัยนั้น   ต้องฝึก  และศึกษาเล่าเรียนกันต่อไป  การเป็นธรรมกายชนิดที่ใช้การได้นั้น

      ยากเหลือที่จะกล่าว   บางท่านถามความรู้ข้าพเจ้า   จะให้ข้าพเจ้าแตกฉานอย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ    ย่อมเป็นไปไม่ได้   เป็นเพียง แต่ว่าเป็นเพื่อนคุยของท่านได้บ้าง

 การเดินวิชาทำอรูปฌาน  ขณะนี้ธรรมกายนั่งบนจตุตถ ฌาน  เราจะทำอรูปฌาน  คือฌาน  ๕-๖-๗-๘  มีวิธีดังนี้

      ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรมในท้องธรรมกาย      บริกรรมใจ  หยุดในหยุดๆๆ  นิ่งในนิ่งๆๆ  จนเห็นดวงธรรม   นิ่งกลางดวงธรรม    เห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรม   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ

      ขณะนิ่งดูจุดใสเท่าปลายเข็มของดวงธรรมในท้องธรรมกายนั้น   จะเห็นจุดใสเท่าปลายเข็มของแผ่นฌานที่ซ้อนอยู่ที่ก้นของ  ธรรมกายด้วย    ตั้งแต่จตุตถฌาน   ตติยฌาน  ทุติยฌาน  และ  ปฐมฌานอยู่ตรงกัน

      เรานึกจะทำฌาน  ๕  คืออากาสาฯ   นึกส่งใจธรรมกาย นิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของปฐมฌาน   ซึ่งเป็นแผ่นฌานล่าง สุด     บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ     นิ่งในนิ่งๆๆ     ทันใดนั้นเอง     จุดใสเท่าปลายเข็มกลางปฐมฌานจะว่าง   และเกิดแผ่นใสใหม่  เกิดขึ้น   ธรรมกายนั่งบนแผ่นใสใหม่ทันที    แผ่นใสใหม่นี้คืออากา สานัญจายตนะฌาน    แล้วฌานอื่นๆ    ก็ไปซ้อนล่างแผ่นฌาน    อากาสาฯ  ที่เกิดใหม่  (คือซ้อนด้วยจตุตถ  ตติย  ทุติย   คือฌาน ๔-๓-๒  นั่นเอง)

      ในทำนองเดียวกัน   ธรรมกายส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่า  ปลายเข็มของทุติยฌาน  เกิดฌานใหม่  คือวิญญาณัญจาฯ  ส่งใจนิ่งลงไปที่ตติยฌาน  เกิดฌานใหม่คืออากิญจัญญาฯ  ส่งใจนิ่งไปที่จตุตถฌาน เกิดฌานใหม่คือเนวสัญญาฯ จบเรื่องการทำอรูปฌาน

      เริ่มตั้งแต่ทำรูปฌานและถึงอรูปฌาน    ถือเป็นการเดิน ฌานสมาบัติเดินหน้า  (อนุโลม)  จากนี้ไปจะเดินฌานสมาบัติถอยหลัง (ปฏิโลม)   อนุโลมเดินไป  ๑  เที่ยว  ถอยหลังปฏิโลม ๑ เที่ยว  ท่านให้นับเป็น  ๒  เที่ยว

  ลำดับสาม

      เดินฌานสมาบัติปฏิโลม  ขณะนี้ธรรมกายนั่งอยู่บนฌานเนวสัญญาฯ  จะเดินฌานถอยหลัง

      นึกส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของฌานอากิญ-จัญญาฯ(ฌาน ๗)   ธรรมกายก็มานั่งบนฌานที่ ๗  ทันใดนั้นเอง ฌาน  ๘  ก็เลื่อนลงมาซ้อนฌาน ๗  ต่อด้วยฌาน ๖-๕-๔-๓-๒-๑  เพราะฌานกำลังถูกใช้งาน  ฌานที่ไม่ถูกเรียกใช้  ไม่ได้หายไปไหน  จะเข้าไปต่อท้ายฌานที่กำลังถูกใช้พิจารณา   ขณะที่ฌาน  ๘  เข้ามาซ้อนฌาน  ๗  นั้น   เราเห็นเป็นว่าฌาน  ๘  หายไป   เขามักจะ  พูดกันว่า   ฌาน  ๗  รองรับ,   ฌาน  ๘  หายไป  ขณะที่เราเห็น  ฌาน ๗  ใจเรามุ่งมาที่ฌาน  ๗  ฌาน  ๗  หยาบกว่า  เราจึงเห็น  ส่วนฌาน  ๘  ละเอียดกว่าคือจางกว่า   เราจึงไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัด

      ในทำนองเดียวกัน   ส่งใจนิ่งไปที่ฌาน  ๖-๕-๔-๓-๒-๑  จบอนุโลมปฎิโลม  ๒  เที่ยว (หรือจะนับ ๑ เที่ยวก็ตามใจ)

  ลำดับสี่

      บทฝึกกำหนดให้เดินฌานสมาบัติ  ๗  เที่ยว  เที่ยวแรกนี้ เน้นเรื่องทำฌาน   ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน  และแสดงการเดิน  ฌานสมาบัติอนุโลมและปฏิโลม   เมื่อเข้าใจแล้ว  จากนี้ไปเป็น  การฝึกยากขึ้น   คือเดินฌานสมาบัติไปด้วย   ดูอริยสัจ  ๔  ไปด้วยมีความประสงค์จะดูอริยสัจ  ๔  ที่กายใด    ก็ไปเดินฌานสมาบัติที่  กายนั้น   วิธีดูมีอย่างไร  ได้แสดงไว้แล้ว   หากไม่เข้าใจ   โปรด   กลับไปอ่านทบทวนใหม่

      ขณะนี้แผ่นฌาน  ๘  ฌานอยู่ที่ก้นกายของกายธรรมแล้วทั้งรูปฌานและอรูปฌาน   หน้าที่ของเราคือให้ธรรมกายไปเดิน  ฌานสมาบัติที่กายใด   เพื่อดูทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  ให้แจ้งใจ  คือทำวิชาที่ดวงธรรมของกายมนุษย์  เดินฌานสมาบัติ  ๗  เที่ยว  ดูอริยสัจ  ๔  คือทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค   เมื่อถึงการดูมรรคคือ  เห็นดวงศีล  ดวงสมาธิ  ดวงปัญญาของกายมนุษย์นั่นเอง

      เมื่อส่งใจหยุดนิ่งที่จุดใสเท่าปลายเข็มของดวงปัญญาแล้วจุดใสเท่าปลายเข็มของดวงปัญญาจะว่าง   การที่สภาวะของใจดิ่งลงไปในว่างนั้นเรียกว่าตกสูญ  ไม่นานนักว่างนั้นก็เป็นดวงใสวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง   ๕   วานี้    ส่งใจนิ่งลงไปที่กลางสูญคือดวง  ใสเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๕  วานี้     บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    ส่งใจ

      นิ่งไปกลางดวงใสตรงจุดใสเท่าปลายเข็ม   บริกรรมใจหยุดใน   หยุดๆๆ  ดวงใสนี้กลายเป็นธรรมกายพระโสดา

 วิธีเดินวิชา ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของธรรมกาย    ส่งใจธรรมกายลงไปที่ดวงธรรมของกายมนุษย์    นิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของดวงธรรมกายมนุษย์   เดินฌานสมาบัติที่จุดใสเท่าปลายเข็มของฌาน   จากนั้น  เดินฌานทันที   น้อมใจธรรมกายไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของฌานที่ ๑   ธรรมกายจะนั่งบนแผ่นฌาน  ที่ ๑  ทันที   ท่องในใจ  ฌาน ๑ หายไป   ฌาน  ๒ รองรับ,  ฌาน    ๒  หายไป   ฌาน ๓  รองรับ, ฌาน  ๓ หายไป ฌาน  ๔  รองรับ,  ฌาน ๔ หายไป ฌาน ๕ รองรับ, ฌาน ๕ หายไป ฌาน ๖ รองรับ,ฌาน ๖ หายไป ฌาน ๗ รองรับ, ฌาน ๗ หายไป ฌาน ๘ รองรับ, นี้คืออนุโลม  ทำปฏิโลมถอยหลัง  ท่องฌาน  ๘ หายไปฌาน  ๗ รองรับ,  ฌาน ๗ หายไป  ฌาน ๖ รองรับ...........ฯลฯ

      ขณะที่เดินฌานสมาบัติอยู่นั้น  เรานึกดูทุกข์  นึกดูสมุทัย  ดูนิโรธ    ดูมรรค    ใจเราทำงาน  ๒  อย่าง     คือเดินฌานกับดู   อริยสัจ  ๔  พอใจท่องไป  ฌานก็ทำหน้าที่ไป  ธรรมกายก็ใสยิ่งขึ้น 

      หากดูแล้วยังไม่เห็น หรือเห็นก็เลือนลาง กรณีเช่นนี้  ต้องเดินฌานสมาบัติให้มากเที่ยว อย่ายึดตำราว่า ๗ เที่ยว    ยิ่งมากเที่ยว    ยิ่งดี เพราะจะทำให้การเห็นของเรา    สว่างและ  ชัดเจนขึ้น

      ขั้นตอนการดูทุกข์    สมุทัย    นิโรธ     ไม่มีปัญหาอะไร      โปรดทบทวนบทฝึกที่เกี่ยวข้อง        แล้วจะเข้าใจถึงขั้นมรรคของกาย  มนุษย์    คือดวงศีล    ดวงสมาธิ    และดวงปัญญา   ขั้นตอนที่จะ   เกิดธรรมกายพระโสดานั้น  ให้ทำดังนี้

      หยุดนิ่งลงไปที่ดวงปัญญา     บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   จะเห็น    “จุดใสเท่าปลายเข็ม”    ซึ่งอยู่กลางดวงปัญญานั้น     ส่งใจ  นิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มนั้น     บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ     จะเห็น  “จุดใสเท่าปลายเข็มว่างออก”      ส่งใจดิ่งลงไปในว่างนั้น    บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    นิ่งในนิ่งๆๆ     แล้วว่างนั้นจะเห็นชัดขึ้น  เป็นดวงใส   เส้นผ่าศูนย์กลาง  ๕  วา   ดวงนี้    หลวงพ่อท่านเรียก  “สูญ”   ทำได้อย่างนี้เรียกว่า  ธรรมกายตกสูญ

      ให้ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงใสนี้      บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ   นิ่งลงไปกลางดวง    สังเกตให้ดีจะมีจุดใสเท่าปลายเข็ม     จรดใจ    ตรงนั้น   แล้วดวงใสนี้จะเกิดเป็นธรรมกายพระโสดา   หน้าตัก  ๕  วา  สูง  ๕  วา   น้อมธรรมกายเข้าฌานทันที

 

     จากนั้น    ธรรมกายพระโสดา   ดูดวงธรรมในท้องของ    กายทิพย์   ดูอริยสัจ  ๔  แล้วเกิดเป็นธรรมกายพระสกิทาคา   หน้า  ตัก  ๑๐  วา

      จากนั้น   ธรรมกายพระสกิทาคา    ดูดวงธรรมในท้องของ  กายพรหม    ดูอริยสัจ  ๔  ของกายพรหมดังกล่าว    แล้วเกิดธรรม  กายพระอนาคามี  หน้าตัก  ๑๕  วา

      จากนั้น  ธรรมกายพระอนาคามี   ดูดวงธรรมในท้องของ  กายอรูปพรหม  ดูอริยสัจ ๔ ของกายอรูปพรหม  ตามวิธีที่กล่าวแล้ว  จนเกิดธรรมกายพระอรหัตต์  หน้าตัก  ๒๐ วา

      การฝึกบทนี้ไม่ยาก  เพราะทำวิธีฝึกให้ละเอียดแล้ว  ขอ  ความกรุณาว่าฝึกให้หลายเที่ยว    เพราะสำคัญยิ่ง    หากฝึกบทนี้     ไม่ก้าวหน้า  ก็แปลว่าเราไม่เห็นของดี

การทำฌานโดยใช้ดวงธรรมของกายธรรม

และการเข้านิพพานกายโลกีย์

      กายโลกีย์คือกายมนุษย์    กายทิพย์    กายพรหม   กายอรูปพรหม  ส่วนกายธรรมคือ   ธรรมกายพระโสดา   ธรรมกาย     พระสกิทาคา  ธรรมกายพระอนาคามี  ธรรมกายพระอรหัตต์

      การทำรูปฌานของการฝึกบทนี้   เป็นการใช้ดวงธรรม   ของกายธรรมเป็นฌาน     และการทำอรูปฌานก็ทำจากรูปฌาน  นั่นเอง

 สถานภาพเดิม  ขณะนี้  เราเป็นธรรมกายพระอรหัตต์  จากการฝึกบทที่แล้ว   จากนี้ไป   เราจะทำรูปฌานโดยขยายดวงธรรมของธรรมกายให้เป็นแผ่นฌาน

 การเดินวิชา  หยุดนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของธรรมกายพระอรหัตต์  เดินสมาบัติถอยหลังมาถึงธรรมกายพระโสดา  ดังนี้

      นับดวงธรรมในท้องธรรมกาย   ถอยหลังจากธรรมกาย  พระอรหัตต์   มาถึงพระอนาคามี   จากพระอนาคามี    มาถึง        พระสกิทาคา  จากพระสกิทาคามาถึงพระโสดา

      หยุดกลางดวงธรรม  ๑  ถึงดวงธรรม  ๒,    หยุดกลาง   ดวงธรรม ๒   มาถึงดวงธรรม ๓,  (ดวงปัญญา  ดวงสมาธิ ดวงศีล)  หยุดนิ่งกลางดวงธรรม ๓   เห็นธรรมกายพระอนาคามี   นับดวง  ธรรมในท้องธรรมกายพระอนาคามี  ตามวิธีที่กล่าวนั้น  จนมาถึง  ธรรมกายพระโสดา

      หยุดนิ่งกลางดวงธรรมในท้องธรรมกายพระโสดา    (จะ   เดินตามฐาน  ๗  ฐานก็ได้)   เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม   ส่งใจนิ่ง        ลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็ม   บริกรรมใจหยุดในหยุดๆๆ    ขยาย    ดวงธรรมให้ใหญ่   ให้เป็นแผ่นฌาน   นี่คือปฐมฌาน   ธรรมกาย    นั่งบนแผ่นฌาน   จากนั้น   ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมในท้องของ  ธรรมกายพระสกิทาคา   ขยายดวงธรรมให้ใหญ่เป็นแผ่นฌาน   นี่  คือทุติยฌาน      แล้วธรรมกายนั่งบนแผ่นฌานใหม่นี้     จากนั้น     ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมในท้องธรรมกายพระอนาคามี    ขยาย     ดวงธรรมให้เป็นแผ่นฌาน   นี่คือตติยฌาน   ธรรมกายนั่งบนแผ่น  ฌานแผ่นใหม่นี้   จากนั้น   ส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงธรรมของธรรมกาย  พระอรหัตต์ ขยายดวงธรรมให้ใหญ่ เป็นแผ่นจตุตถฌาน   ธรรม กายนั่งลงบนแผ่นฌานแผ่นใหม่นี้

      ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรมของธรรมกาย   เห็นจุดใสเท่า  ปลายเข็มซึ่งอยู่กลางดวงธรรมนั้น  จุดใสเท่าปลายเข็มนี้  จะตรงกับจุดใสเท่าปลายเข็มของแผ่นฌาน   นึกไปที่จุดใสเท่าปลายเข็ม  ของปฐมฌาน  ธรรมกายจะไปนั่งบนแผ่นปฐมฌานทันที     พอจุดใสเท่าปลายเข็มของปฐมฌานว่างออกไป   จะเห็นแผ่นใสใหม่เกิด ขึ้น    นี่คืออากาสานัญจาฯ  (ฌานที่๕)       แล้วธรรมกายนั่งบน   แผ่นฌานใหม่นั้น   ส่งใจนิ่งมาที่ทุติยฌาน  จะได้ฌาน  ๖    ส่งใจ  นิ่งมาที่ตติยฌาน   จะได้ฌาน  ๗  ส่งใจนิ่งลงไปที่จตุตถฌาน    จะ ได้ฌาน  ๘  จากนั้น   เดินฌานสมาบัติที่ดวงธรรมของกายมนุษย์   ๗  เที่ยว  ธรรมกายตกสูญเข้านิพพานของกายมนุษย์

      การเดินฌานสมาบัติที่ดวงธรรมของกายมนุษย์    หมายความว่า     เดินจุดใสเท่า    ปลายเข็ม    ซึ่งอยู่กลางดวงธรรม   จุดใสเท่าปลายเข็มจะว่างออกไป   สภาพใจดิ่งวูบลงไป  สภาพใจที่วูบนี้เรียกว่าตกสูญ   ไปหาดวงใส  ดวงใหม่  ดวงใสดวงใหม่นี้คือนิพพานของกายมนุษย์  นิพพานนี้เป็นป้อมเป็นค่ายของกาย

      เวลาเราทำวิชารบ   พอเรานึกเดินวิชา   เราจะเห็นตัว  เรารูปร่างเหมือนกายมนุษย์คือตัวเรา    กายมนุษย์ที่ว่านี้ก็กาย  มนุษย์ละเอียดหรือกายฝันของเรานั่นเอง

      นิพพานมีลักษณะเป็นดวงใสกลมรอบตัว   ใสเป็นแก้ว  พูดให้ง่ายก็คือ  บ้านของกายฝัน  ของๆ  ใครขาวใสเป็นแก้วสว่าง โชติ  บ่งบอกว่าเป็นคนมีบุญมีบารมีธรรมสูง   และถ้านิพพานคือ บ้านของใครยังไม่ใส  ท่านให้หมั่นเดินฌานสมาบัติ   กลางดวงนิพพานมีจุดใสเท่าปลายเข็ม    จุดใสเท่าปลายเข็มก็คือศูนย์ของ  นิพพาน   ที่ว่าธรรมกายตกสูญ  ก็คือตกตรงนี้  การตกสูญโดยวิธี  นี้ใช้คำว่าสูญ

      จากนี้ไป   พึงน้อมธรรมกายเข้านั่งในนิพพานของกาย  มนุษย์ละเอียดนั้น   เพื่อธรรมกายจะได้เดินฌานสมาบัติ    เพื่อ   เข้านิพพานของกายทิพย์   ตามหลักวิชาของคู่มือสมภารต่อไป

 สถานภาพเดิม ขณะนี้ธรรมกายเข้าอยู่ในนิพพานของกาย มนุษย์ละเอียด   เห็นกายฝันของตัวเราเอง   นั่งอยู่ในดวงใสคือ  นิพพาน

 วิธีเดินวิชาขั้นตอนนี้จะทำอย่างไร     ธรรมกายน้อมเข้า   นั่งอยู่ในนิพพานของกายมนุษย์ละเอียดแล้ว   งานต่อไปคือส่งใจ  ธรรมกายนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของนิพพาน    แล้วเดิน   สมาบัติดังที่กล่าวแล้ว   และเมื่อเดินสมาบัติครบ  ๗  เที่ยว  ธรรม  กายจะตกสูญเข้านิพพานของกายทิพย์   คือเห็นดวงใสดวงใหม่   และเห็นกายทิพย์ของตัวเราเองนั่งอยู่    เราจึงรู้ว่านี่คือนิพพาน     ของกายทิพย์

      การเดินวิชาขั้นตอนนี้   บางท่านไม่เดินตามที่กล่าวนั้น   โดยให้เหตุผลว่า   ศูนย์ของนิพพานและศูนย์กลางกายของกาย   มนุษย์ละเอียดนั้นตรงกัน   ควรน้อมธรรมกายเข้านั่งกลางกายของ  กายมนุษย์ละเอียด  โดยส่งใจธรรมกายลงไปที่ดวงธรรมของกาย  มนุษย์ละเอียด  กลางของดวงธรรมคือจุดใสเท่าปลายเข็มของดวง  ธรรม   จะอยู่ตรงกับจุดใสเท่าปลายเข็มของนิพพาน   การเดินสมาบัติวิธีนี้   ส่งผลให้กายมนุษย์ละเอียดใสขึ้นด้วย    นับว่ามี  เหตุผลอยู่มาก      ท่านใดจะเดินวิชาแนวนี้ก็ได้ผลอย่างเดียวกัน     ขอแต่ว่าให้ถึงนิพพานของกายทิพย์ก็แล้วกัน  โปรดเข้าใจว่า   การ  เดินวิชามีหลายวิธีเหมือนกับการทำเลขคณิต   สุดแต่ใครจะเลือก  วิธีใด

      กล่าวถึงการเดินวิชาที่นิพพานของกายมนุษย์ละเอียด ตามวิธีข้างต้นนั้น  เมื่อน้อมธรรมกายนั่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มของนิพพานแล้ว   ก็เดินวิชาตามที่กล่าวมาแล้ว   ครบ  ๗  เที่ยวแล้ว  ธรรมกายตกสูญเข้านิพพานของกายทิพย์   และในทำนองเดียวกัน  ก็เดินวิชาเข้านิพพานของกายพรหม  นิพพานของกายอรูปพรหม  นิพพานของกายธรรม

      เมื่อจะออกจากนิพพานของกายธรรมกลับมาหานิพพาน  ของกายอรูปพรหม    นิพพานของกายพรหม    นิพพานของกาย  ทิพย์   นิพพานของกายมนุษย์   ก็ให้เดินวิชาสมาบัติอีก  ๗  เที่ยว  ด้วย  ไม่ให้ออกมาโดยไม่เดินวิชา

      จบการฝึกบทที่ ๓  จากคู่มือสมภารเพียงนี้

      โปรดทบทวนว่า   บทฝึกที่  ๓  นี้   มีหลายขั้นตอน     มี   หลายบท  ควรทำความเข้าใจแต่ละบทให้ดี   ค่อยๆ  อ่าน    ค่อยๆ   ทำความเข้าใจ  ไม่มีอะไรง่าย  มีแต่ยากๆ  ทั้งนั้น

ขนาดของแผ่นฌาน

      ท้ายบทฝึก  ตำราแจ้งว่า  ขนาดของแผ่นฌานนั้น    มี  ขนาดต่างกัน     คือแผ่นฌานเกิดจากดวงธรรมของกายโลกีย์     มี  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง   ๒  วา  หนา  ๑  คืบ  แต่ถ้าแผ่นฌานเกิด  จากการขยายดวงธรรมของกายธรรมนั้น     มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลาง  ๒  วาขึ้นไป  หนา  ๑  คืบ   หากท่านฝึกเข้าถึงธรรมกายที่   ละเอียดยิ่งขึ้นไป   ขนาดของแผ่นฌานก็จะโตขึ้นไป

เรื่องของการตกสูญ  ตกศูนย์

      เคยกล่าวว่า  การตกสูญ  ได้แก่การที่ธรรมกายตกสูญที่  ดวงปัญญา   แต่การฝึกบทที่  ๓   เราจะพบการตกสูญอีกลักษณะ  หนึ่ง   ส่วนการตกศูนย์ที่ดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น   เราเข้าใจ   ตรงกันแล้ว

     เมื่อเป็นเช่นนี้   เราตั้งกฎเกณฑ์ยาก    การเดินวิชาเมื่อ  ธรรมกายตกสูญ   หมายถึงการที่ธรรมกายดิ่งลงไปแล้ว    ไม่นาน     ก็จะเห็นดวงใสดวงใหม่   ปรากฏการณ์อย่างนี้ถือว่าตกสูญ

      ย้อนมาถึงการฝึกวิชาธรรมกายใหม่ๆ     การเห็นดวงใส  ครั้งแรกที่ฐานที่ ๖   เรียกว่าตกสิบ    จากนั้นเห็นดวงใสโตขึ้นที่ฐาน  ที่  ๗  เรียกว่าตกศูนย์   บางครั้งก็เรียกเข้าสิบเข้าศูนย์   ศูนย์คือ  ศูนย์กลางกาย

เรื่องนิพพานในกาย

      จากการฝึกบทที่  ๓ เราได้ความรู้ว่า   ในกายของเราก็มี  นิพพาน   นิพานคือที่อยู่ที่อาศัยของกาย   อีกความรู้หนึ่งได้แก่  นิพพานนอกกาย   ได้แก่นิพพานอันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ได้มรรค   ผลนิพพานนั้น  คือเป็นอายตนะหนึ่งอยู่นอกภพ  ๓ ขึ้นไป   ซึ่งเรา  ท่านเข้าใจเรื่องนี้แล้ว     เหตุที่เราทำความเพียรเล่าเรียนวิชา   ธรรมกาย    และสร้างบารมีเผยแพร่วิชาธรรมกาย   ก็เพื่อให้ได้   มรรคผลนิพพานนั่นเอง

      แต่ความรู้ในทางวิชาธรรมกาย   เมื่อเราเล่าเรียนมากขึ้น  จะทราบปัญหาของนิพพานในกาย   กว่าเราจะทราบถึงปัญหานั้น  เราต้องเรียนกันมากๆ     ครั้นเราทราบเข้าแล้ว      เราจะต้องแก้   ปัญหานั้น      ซึ่งต้องใช้ความรู้ชั้นสูง     เรียกว่าวิชารบ    มีความ    จำเป็นที่เราต้องศึกษาเล่าเรียน   หากเราไม่เล่าเรียน   จะเสมือน     ว่าเรางอมืองอเท้า   ปล่อยให้มารข่มเหงรังแกพวกเรา   หากท่าน   สนใจ  โปรดติดตามหนังสือปราบมารของข้าพเจ้าต่อไป

   บางส่วนจากหนังสือแนวเดินวิชาหลักสูตรคู่มือสมภารของหลวงพ่อวัดปากน้ำ  หน้า 46  :  อ่านทั้งหมด | หน้าแรก