เริ่มเรื่องวิธีทำสมาธิ

 

     หนังสือคู่มือสมภาร   ได้เขียนเริ่มเรื่องวิธีทำสมาธิไว้ว่า

     การทำภาวนา จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำ จะต้องมีใจและอารมณ์ปลอดโปร่ง  ว่างจากกิจที่กังวลทั้งปวง  เพราะถ้าหากมีความกังวลมากนัก  ก็อาจทำให้สมาธิไม่แน่วแน่    ฉะนั้น     ถ้ามีความตั้งใจว่าทำสมาธิแล้ว   ก็พึงละความกังวลใหญ่น้อยทั้งปวงเสียให้สิ้น      มุ่งแต่ธรรมอย่างเดียว   แม้ความรู้ในทางธรรมใดๆ    ที่ได้เล่าเรียนมาแล้ว    ก็ควรพยายามปล่อย  วางให้สิ้นเสียก่อน    หากไม่ทำเช่นนั้น    ก็จะเกิดเป็นวิจิกิจฉาขึ้น  ทำให้   ผู้ปฏิบัติไม่เห็นธรรมได้ตามต้องการ    เมื่อรู้แน่ชัดเช่นนี้แล้ว    จะได้กล่าว   ถึงวิธีนั่งต่อไป

     หลังจากการสวดมนต์ไหว้พระรัตนตรัยแล้ว     ถึงนั่งคู้บัลลังก์   ขัดสมาธิ      เท้าขวาทับเท้าซ้าย   มือขวาทับมือซ้าย   นิ้วชี้มือขวาจรดหัว  แม่มือซ้าย   หลับตาพอหนังตาติดกันสบายๆ   ตั้งกายให้ตรงจนยืดตัว   ไม่ได้ต่อไป   ที่เรียกว่า  อุชุ°  กายํ  ปาณิธาย   ตั้งกายให้ตรง   ปริมุขํ     สตึ   อุปฏฺฐเปตฺวา   เข้าไปตั้งสติไว้ให้มีหน้ารอบ  ไม่เผลอ  (ตรงกับพระ   ขีณาสพผู้มีสติเป็นวินัย)      มีสติทุกเมื่อ     นี่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า   พระอรหันต์     สติไม่เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิตให้ติดกัน   ไม่แยกจากกัน   บริกรรมภาวนาได้แก่คำว่า “สมฺมา  อรหํ”  ส่วนบริกรรม   นิมิตนั้น   คือกำหนดเครื่องหมายให้ใส   เหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว  เหมือนดวงแก้วกลมๆ       ที่ใสบริสุทธิ์      ปราศจากไฝฝ้าหรือมลทินใดๆ  สัณฐานกลมรอบตัว    บริกรรมทั้งสองนี้พึงตรึกไว้ให้ได้อยู่เสมอ     ใน    อิริยาบถทั้ง ๔ คือ    ยืน   เดิน   นั่ง   นอน    ไม่ให้เผลอจากสติได้    และ    นี่เองเป็นของสำคัญ    ในเรื่องที่ทำเป็นหรือไม่เป็น

     ในชั้นต้นสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ   ควรกำหนดรู้จักฐานที่ตั้งของดวง   นิมิตเสียก่อน   เพื่อจะได้รู้จักทางไปเกิดมาเกิดของตนเองไว้บ้าง  ฐานที่ตั้ง   นี้แบ่งเป็น  ๗  ระยะคือ

     ฐานที่ ๑    ปากช่องจมูก  หญิงซ้าย   ชายขวา   ตรงกลางพอดี   ไม่ล้ำเข้าไป   ไม่เหลื่อมออกมา

     ฐานที่ ๒    เพลาตา   หญิงซ้าย   ชายขวา  ตรงหัวตาพอดี

     ฐานที่ ๓   กลางกั๊กศีรษะกับจอมประสาท    ได้ระดับตา   แต่      อยู่ภายในตรงศูนย์กลาง   คือจากดั้งจมูกตรงไปจรดท้ายทอย   จากเหนือ   หูซ้ายตรงไปเหนือหูขวา  ตรงกลางที่เส้นทั้ง ๒  ตัดกันนั่นเองเป็นฐานที่ ๓ 

     ฐานที่ ๔    ปากช่องเพดาน     ไม่ให้ล้ำเหลื่อม     เหนือลิ้นไก่   ตรงที่รับประทานอาหารสำลัก

     ฐานที่ ๕    ปากช่องคอ    เหนือลูกกระเดือก   อยู่กลางทีเดียว

     ฐานที่ ๖    สุดลมหายใจเข้าออก   คือกลางตัว   ตรงระดับสะดือ  แต่อยู่ภายใน

     ฐานที่ ๗    ถอยหลังกลับขึ้นมา   เหนือระดับสะดือประมาณ  ๒  นิ้ว  ในกลางตัว

     กำหนดดวงนิมิตเครื่องหมายใส   ไปหยุดตามฐานนั้นๆ   พร้อม   กับภาวนาในใจว่า “สมฺมา  อรหํ”  จำนวน ๓ ครั้ง   แล้วเลื่อนดวงนิมิต  นั้นต่อไป

     สำหรับฐานที่ ๓  เวลาที่จะเลื่อนดวงนิมิตต่อไป    ต้องเหลือกตา   กลับเข้าข้างใน  คล้ายคนนอนกำลังจะหลับ  แต่แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตาม  ปกติ   ทั้งนี้   เพื่อให้ความเห็น ความจำ ความคิด  ความรู้ กลับเข้าข้างใน  เพราะจะต้องดูด้วยตาละเอียด

      เมื่อเลื่อนดวงนิมิตลงไปจนถึงฐานที่ ๗  แล้ว    ในฐานที่  ๗  นั้น  มีศูนย์อยู่ ๕ ศูนย์   คือศูนย์กลาง,  หน้า, ขวา,  หลัง,  ซ้าย,  ศูนย์หน้าเป็น   ธาตุน้ำ  ขวาธาตุดิน  หลังธาตุไฟ  ซ้ายธาตุลม   ศูนย์กลางเป็นอากาศธาตุ   ตรงกลางอากาศธาตุได้แก่วิญญาณธาตุ   ธาตุเหล่านี้ประชุมกันเป็นกาย   มนุษย์ขึ้น  และที่ศูนย์กลางกายนี้คือศูนย์กำเนิดของกายมนุษย์นั่นเอง

      ถ้าหากรู้จักทางคือฐานที่ตั้งเหล่านี้แล้ว   ในการทำคราวหลัง  ๆ  จะเอาใจไปจรดที่กำเนิดของกายมนุษย์ทีเดียวก็ได้

      ที่กล่าวนี้  คือบทบัญญัติเรื่อง   “เริ่มเรื่องวิธีทำสมาธิ”           ของคู่มือสมภาร   ซึ่งตัดลอกมา  แต่ทำย่อหน้าเพิ่ม

 

 

อธิบายเรื่องเริ่มวิธีทำสมาธิ

ภาษาหนังสือเมื่อปี ๒๔๙๒

     ในเรื่องเริ่มวิธีทำสมาธิ  ท่านจะพบภาษาหนังสือเมื่อปี พ.ศ.  ๒๔๙๒    ว่าเป็นอย่างไร

การสอนครั้งนั้นกับปัจจุบัน   มีการเปลี่ยนไปบ้าง

     ๑.เรื่องฐาน  ๗  ฐาน     ท่านจะเห็นว่า   การเรียกชื่อฐาน     เมื่อก่อนกับปัจจุบัน   มีต่างกันอยู่บ้าง

     ๒.ลักษณะของฐานที่   ๗    วิญญาณธาตุ     เราไม่ได้ใส่เลข     ๖    ความจริงเราเรียกธาตุ   ๖    คงจะตรวจพิมพ์ไม่ทั่ว   หลงหูหลงตา   ไป    การพิมพ์ครั้งหลังๆ     ไม่อาจแก้    เกรงจะไม่ตรงต้นฉบับนั่นเอง

เรื่องของการเดินดวงนิมิต

     คือการเลื่อนดวงนิมิตไปตามฐาน   ๗   ฐาน     สุดท้ายดวง   นิมิตไปหยุดที่ฐานที่   ๗    ในหนังสือคู่มือสมภารกล่าวว่า   คราวต่อไป   “เอาใจไปจรดที่กำเนิดของกายมนุษย์ทีเดียวก็ได้”

     กำเนิดของกายมนุษย์    อยู่ที่ดวงปฐมมรรค     คือกลางดวง    ธรรมจะมีจุดใสเท่าปลายเข็ม     จุดใสเท่าปลายเข็มนี้เราเรียกว่ากลาง    เรียกมัชฌิมาปฏิปทา      เรียกเอกายนมรรค    จะเห็นว่ามีชื่อเรียก    หลายอย่าง      นี้คือกำเนิดเดิมของกาย    ดังนั้น    กำเนิดเดิมของกาย   ใดก็ดูที่ดวงปฐมมรรค   (ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)     ของกาย   นั้น ๆ

     การเรียนครั้งนั้น   หลวงพ่อท่านว่า   ให้กำหนดใจที่กำเนิด    เดิมของกายมนุษย์   นั่นก็คือตั้งใจที่ศูนย์กลางกาย   เพราะดวงธรรม   อยู่ตรงนั้น   เพียงแต่เรายังไม่เห็น    เพราะใจยังไม่หยุด    ต่อเมื่อใจ   หยุดแล้ว    เราจึงเห็นดวงธรรม

     เราจะเห็นว่า    การสอนครั้งนั้น    สอนกันอย่างไร

เรื่องของการวางใจเมื่อกำหนดดวงนิมิตที่ศูนย์กลางกายแล้ว

     เป็นเรื่องสำคัญสุดยอด   ว่าเราจะฝึกเป็นหรือไม่เป็น    ควร   พูดกันให้ชัด   แม้จะมีความรู้มากปานใด    ถ้าทำใจไม่เป็นแล้ว    ความ    รู้นั้นก็ช่วยไม่ได้     รุ่นคู่มือสมภาร     หลวงพ่อสอนว่า      ทำใจให้ว่าง    ปราศจากความกังวล    แต่รุ่นผมเรียน    หลวงพ่อท่านสอนแบบตั้งกฎ  ไปเลย    เท่าที่ผมจำได้    ให้ทำใจดังนี้

     (๑.) ทำใจประดุจใจเด็กไร้เดียงสา

     (๒.) จรดใจลงไปที่ใดแล้ว    ห้ามเคลื่อนไหวส่ายคลอนใจ     ไปที่อื่น   ความสว่างจะมาจากทางใด   ห้ามส่งใจไปรับรู้   คงจรด    ใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายเท่านั้น

     (๓.) การวางใจ     ท่านว่าวางเบา   ๆ    อย่าเกร็ง    อย่าจี้   อย่างตะปบ

     (๔.) การมองดูดวงธรรม     ท่านห้ามจี้    ห้ามตะปบ      การ   มองนั้น    จะมองก็ไม่ใช่    จะไม่มองก็ไม่เชิง     คือเป็นแบบที่เรา   พูดว่า   “เมิน ๆ  เมียง ๆ”

ทำใจประดุจเด็กไร้เดียงสา

     ข้อนี้ยากมาก    เพราะสภาพใจเด็กไร้เดียงสาเป็นอย่างไร     เราต้องทำอย่างนั้น      เราเป็นผู้ใหญ่มีสภาพใจไม่เหมือนเด็ก   เราจึง   ทำไม่เป็น    เพราะเราฉลาดเกินไป   เรียนมามากเกินไป    ได้ยินได้ฟัง    มามากเกินไป   อย่างนี้ทำไม่เป็น

     อย่าอยากรู้     อย่าอยากเห็น    อย่ายินดี   อย่าอยากได้   เขาบอกแค่นี้   เราก็ทำแค่นี้  อย่า  ทำเกินครู   จะเห็นว่า  ท่านที่เป็นนักเหตุผล   มัก  ทำไม่เป็น   เพราะวางใจไม่เป็น

     ร้ายที่สุดก็คือเรียนความรู้อะไรมาแล้ว      มักจะเอาความรู้   นั้นมาคิดเปรียบเทียบ     สภาพใจเลยว้าวุ่น     ไม่รู้จะยึดความรู้ใด   สุดท้ายเกิดวิจิกิจฉา

     สภาพใจของเด็กเท่าที่ผมสังเกต    จะพบว่าใจเป็นหนึ่ง   จะ    เอาของเล่นก็เรื่องของเล่นอย่างเดียว    ไม่มีอย่างอื่น    ต่อเมื่อเสร็จ    จากของเล่นแล้ว   จึงไปเรื่องอื่น

     ขอพูดฝากไว้เรื่องหนึ่ง   คือเด็กเป็นธรรมกายง่าย   แต่เป็น   แบบไก่ได้พลอย   มารเขาแกล้งได้ง่าย    จึงไม่ควรเชื่อความรู้ของเด็ก    เรื่องไม่สำคัญมารเขาไม่ว่า    แต่พอเรื่องสำคัญ   มารเขาจะขวาง    ทันที   แล้วเราชอบพูดว่า   เด็กกิเลสน้อยกว่าเรา    ญาณทัสสนะ   ย่อมแม่นยำกว่า    ฟังดูก็มีเหตุผล   ผมพบเหตุการณ์มามาก   ทำวิชา  ปราบมารด้วย   เรื่องแจ้งขึ้นมา  ก็ต้องขอพูดฝากไว้

เรื่องเมื่อจรดใจลงไปศูนย์กลางกายแล้วไม่ให้ส่ายไปที่อื่น

 

เป็นคำแนะนำที่วิเศษเลิศล้น  เพราะระหว่างการฝึก   กิเลส   จะมาลวงเราด้วยวิธีต่างๆ   เช่นเห็นสว่างมาที่ใบหน้า   สว่างมาที่   หน้าอก   สว่างที่หน้าท้อง  สว่างที่ศีรษะ   เราผู้ฝึกจะส่ายใจมองตาม  ไปทันที   มารเขาแกล้งและลวงผู้ฝึกด้วยวิธีนี้   ทำให้เราไม่เห็นดวง  ธรรม   เพราะมัวส่ายใจมองความสว่างที่กิเลสเขาแกล้งด้วยวิธีต่าง ๆ   ดังกล่าว

 

ท่านแนะนำว่า   เมื่อจรดใจลงไปที่ศูนย์      กลางกายแล้ว   ไม่ให้ส่ายใจไปที่อื่น   แม้ว่ามืด    ก็ตรงนั้น      หรือสว่างก็ตรงนั้น    ในที่สุดก็เห็น    ดวงธรรมตรงที่เราจรดใจลงไปนั้นเอง

 

มีวิธีแกล้งของมารอีกหนึ่งวิธี   คือเมื่อใกล้จะเห็นดวงธรรม    เราผู้ฝึกจะมีอาการปวดเมื่อยตามแขนตามขา   แทบจะทนไม่ได้    แต่ไหนแต่ไร   ไม่เคยปวดเมื่อยขนาดนี้   กรณีนี้มีวิธีแก้ ๒ อย่าง    อย่างแรกขยับกายได้   แต่ใจต้องไม่เคลื่อน   อย่างที่ ๒  ให้อดทน   ภาวนาต่อไป   ไม่ส่งใจไปรับความเมื่อย  อีกไม่นานเราก็จะเห็น  ดวงธรรม   เมื่อเราเห็นดวงธรรมแล้ว   ความปวดเมื่อยจะหายเป็นปลิดทิ้ง ไม่ทราบว่าปวดเมื่อยหายไปได้อย่างไร  นี่คือการแกล้งของกิเลส   ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับวิธีขยับกายแต่ใจไม่เคลื่อน  เพราะ  เมื่อเราขยับกายเข้าจริง   เพื่อให้ความปวดเมื่อยทุเลาลง  กลับเป็น  ว่าใจเราเคลื่อนเพราะต้องส่งใจไปรับความเจ็บปวดเมื่อยตามแขนขาทำให้การฝึกไม่สำเร็จในวันนั้น

เรื่องการวางใจเบา ๆ ไม่ต้องเกร็ง   ไม่ต้องจี้  ไม่ต้องตะปบ

     การวางใจลงไปที่ดวงนิมิต    ท่านบอกว่าให้วางลงไปแบบ  เบา ๆ   ไม่ต้องเกร็ง    แล้วใจจะหยุดนิ่งโดยธรรมชาติ    เมื่อภาวนา   เรื่อย ๆ  ไป    ใจจะหยุดเอง    หากทำใจที่เรียกกว่าเกร็ง   ใจจะหยุดไม่ถูกส่วน  เกิดการหายใจอึดอัด   เพราะเมื่อใจเกร็ง  กล้ามเนื้อ  หลายส่วนเกร็งตามไปด้วย   ทำให้การหายใจไม่เป็นไปตามปกติ

     ที่ว่าไม่ต้องจี้  ไม่ต้องตะปบนั้น  ได้แก่ตอนที่เห็นดวงธรรม   แล้ว     แต่ดวงยังไม่นิ่ง     เหตุที่ไม่นิ่ง     เพราะความหยุดนิ่งของ    ใจเสียสัดส่วน    เนื่องจากการจี้หรือการตะปบของเรา   ดังนั้นเมื่อ   เห็นดวงธรรม     คือเห็นและหาย     เดี๋ยวเห็นเดี๋ยวหาย   ให้ภาวนา    เรื่อยไป  โดยเราไม่เกิดความอยาก   เมื่อเห็นดวงใหม่ ๆ  ท่านให้   มองแบบเมินๆ และเมียงๆ คือมองก็ไม่ใช่และไม่มองก็ไม่เชิง   แล้วดวงจะนิ่ง  ความจริงดวงก็อยู่ที่เดิมไม่ได้หายไปไหน  เหตุที่เรา   ไม่เห็น    หรือเห็นๆ  หายๆ     เป็นเพราะความหยุดความนิ่งของใจ   เสียสัดส่วน     เนื่องจากการจี้และการตะปบ    จะทำให้ความหยุด   ความนิ่งเสียสัดส่วนนั่นเอง  และเมื่อความหยุดความนิ่งเสียไปแล้ว   ความไม่ชัดเจนเกิดขึ้นทันที

     บทที่ว่าด้วยการฝึกสมาธิภาวนาเบื้องต้น   ตามที่กล่าวมานี้  เราได้ข้อคิดว่า

      ความรู้แต่ละอย่าง กว่าจะหากฎเกณฑ์ได้ต้องใช้เวลาค้นคว้ากันยาวนาน     แต่ละสูตร   กว่าจะลงตัวได้       เราค้นคว้าเกือบตาย     ผมมีประสบการณ์ในการทำวิชาปราบมาร    ความรู้    เรื่องเดียวแค่นี้   ใช้เวลารบถึง  ๒  ปีเต็ม   ปราบ   มารประเภทใดลงได้ระดับหนึ่ง จึงจะได้ความรู้   มาอย่างหนึ่ง  ถ้าปราบไม่ได้เลย   ความรู้เรามี  แค่ไหนก็แค่นั้น

     ดังนั้น   จึงเห็นใจผู้ค้นคว้าโดยเฉพาะหลวงพ่อวัดปากน้ำ   เราต้องเห็นใจให้มากกว่าใคร    บางท่านอาจข้องใจว่า   เรื่องนี้เรา   เคยเรียนมาอย่างนี้  เหตุใดเดี๋ยวนี้ไม่ใช่อย่างนั้น  เพราะความรู้ต้อง  พัฒนาไป   มารเขาก็พัฒนาความรู้ของเขา   ก่อนนี้เรารู้จักปืนใหญ่   แต่เดี๋ยวนี้เขาว่ากันถึงนิวเคลียร์

     มีหลายท่านกล่าวว่า    รู้และญาณทัสสนะของพวกเรามัก  ผิดพลาด    เรื่องนี้เราต้องยอมรับ   ธรรมภาคสัมมาทิฏฐิขอเห็นแจ้ง   แต่ธรรมภาคมิจฉาทิฏฐิเขามาปิด   ไม่ยอมให้เราเห็นแจ้งได้  ผมรู้   เรื่องเอาตอนที่ทำวิชาปราบมาร   ว่ามารเล่นกับเราอย่างนี้

     ดังนั้นเรื่องพยากรณ์ต่างๆ เรามักจะอ่าน   พบแต่เรื่องไม่ดีทั้งนั้น     เรื่องที่พยากรณ์ว่าดีๆ    เราไม่เคยอ่านพบ   นั่นก็แสดงว่า    มารเขาทำ     วิชาทับทวีเอาไว้

     หากเราแก้ฝันไม่ดี      หรือเราเห็นในญาณทัสสนะว่าไม่ดี    พอเราตอบว่าไม่ดีเท่านั้นเอง     มารเขาทับทวีวิชาที่ไม่ดีๆ    ซ้อนลง   ไปในแผนผังที่มารเขาทำไว้ในเรื่องที่เราฝันว่าไม่ดีนั้นทันที       และ   เมื่อถึงกำหนดเวลาที่พยากรณ์    เราจะเห็นว่า    เรื่องที่ไม่ดีตรงตามพยากรณ์   ไม่พลาดเลย   แสดงชัดว่าเราแพ้มารมาแต่ต้นแล้ว

     มาตกลงกันใหม่    เราฝันไม่ดีหรือเราเห็นในญาณทัสสนะ   ว่าไม่ดี    ให้เราแก้ไขทางความรู้วิชาธรรมกายทันที    ตามความรู้    ความเข้าใจของเรา       หากท่านเป็นวิชารบ    ให้ท่านทำวิชาสู้ทันที    จนกว่าเราจะเห็นว่าความไม่ดีนั้นหายไปแล้ว   แล้วเราก็พยากรณ์ว่า    ดีทันที    เพื่อไม่ให้มารเขาได้โอกาส    ครั้นเหตุการณ์จริงอันนั้นมาถึง   ความไม่ดีอันนั้นจะได้ลดกำลังลงบ้าง   เกิดความไม่ดีแต่น้อย    ท่าน   อาจไม่เห็นด้วยกับวิธีของผม   เพราะเขาจะว่าเราไม่แม่น   เขาจะว่า    เราไม่เก่ง   เราจะขาดลาภยศ   เราจะขาดชื่อเสียง   เมื่อเป็นอย่างนี้   เราต้องยุติว่า    เราจะเคารพความรู้หรือจะเคารพอะไร

     พูดถึงการแก้ฝัน   ไม่ว่าใครฝัน    จะต้องมาให้เราแก้ฝันให้   เราก็ออกอุบายว่า      อย่างนี้ต้องสร้างกุศลโดยการเจริญภาวนา  ๓  วัน       หากเห็นดวงใสในท้องของตนเอง       แปลว่าร้ายกลายเป็นดี   หากตั้งความเพียรอย่างนี้ไม่ได้   ท่านให้รักษาศีลอยู่กับบ้าน  ๒  วัน  ห้ามไปไหนมาไหน    เท่านี้ก็เป็นกุศล   ไม่ต้องไปทำอะไรต่อมิอะไร  ดูแล้วมากเรื่องไม่เข้าท่าเลย

     การรดน้ำมนต์ช่วยกำจัดทุกข์ไม่ได้  ได้แต่  กำลังใจ         แต่การเจริญภาวนาเป็นการสร้าง   นิโรธและสร้างมรรค        นิโรธและมรรคคือตัว   กำจัดทุกข์    แม้เขาจะทำไม่ได้   แต่ก็ถูกวิธีแห่ง  การเข้าถึงธรรม

     กลับมาถึงเรื่องการตั้งชื่อ   ขอฤกษ์แต่งงาน   ปลูกบ้านใหม่   ไม่ต้องเปิดตำราหมอดู      เข้าธรรมกายแล้วบอกได้เลย     สามารถ  บริการประชาชนได้ทุกเรื่อง    ต้องให้ความนิยมแก่พระราชสาครมุนี  เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร      ไม่ว่าประชาชนจะต้องประสงค์อะไร   ไปหาท่านแล้ว    ท่านจะเข้าธรรมกายทันที    ทำได้สารพัดเรื่อง   ไม่   ต้องเป็นธุระไปเปิดตำราหมอดูให้เสียเวลา    พระเดชพระคุณปรารภ  ว่า    ตั้งแต่เป็นธรรมกาย    ดูว่าลดภาระไปมาก   ไม่ว่าจะอะไร   เข้า   ธรรมกายสถานเดียว

     จบเรื่องเริ่มวิธีทำสมาธิไว้เพียงนี้

 

 

คู่มือสมภาร

 

เป็นวิชาธรรมกายชั้นสูง

 

เหมาะแก่ผู้เป็นธรรมกายแล้ว

 

 

              

บางส่วนจากหนังสือแนวเดินวิชาหลักสูตรคู่มือสมภารของหลวงพ่อวัดปากน้ำ  หน้า 18  :  อ่านทั้งหมด | หน้าแรก