วิธีบูชาพระ

ของพระมงคลเทพมุนี

บูชาพระก่อนนั่งภาวนาทุกครั้ง

     ยะมะหังสัมมาสัมพุทธังภะคะวันตังสะระณังคะโต(ชายคะตา(หญิง)

     อิมินาสักกาเรนะตังภะคะวันตังอะภิปูชะยามิ

     ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ, ซึ่งข้าพเจ้าถึง,

ว่าเป็นที่พึ่ง, กำจัดทุกข์ได้จริง, ด้วยสักการะนี้

     ยะมะหังสะวากขาตังภะตะวะตาธัมมังสะระณังคะโต(ชายคะตา(หญิง)

     อิมินาสักกาเรนะตังธัมมังอะภิปูชะยามิ

     ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้, ซึ่งพระธรรม, อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว, ซึ่งข้าพเจ้าถึง,

ว่าเป็นที่พึ่ง, กำจัดภัยได้จริง, ด้วยสักการะนี้

     ยะมะหังสุปะฏิปันนังสังฆังสะระณังคะโต(ชายคะตา(หญิง)

     อิมินาสักกาเรนะตังสังฆังอะภิปูชะยามิ

     ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้, ซึ่งพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี, ซึ่งข้าพเจ้าถึง, ว่าเป็นที่พึ่ง, กำจัดโรคได้จริง,

ด้วยสักการะนี้

ไหว้พระต่อไป

     อะระหังสัมมาสัมพุทโธภะคะวาพุทธังภะคะวันตังอภิวาเทมิ (กราบลง๑หน)

     สะวากขาโตภะคะวาธัมโมธัมมังนะมัสสามิ (กราบลง๑หน)

     สุปะฏิปันโนภะคะวะโตสาวะกะสังโฆสังฆังนะมามิ (กราบลง๑หน)

คำขอขมาโทษ

     บูชาพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เมื่อเราไหว้พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เสร็จแล้ว

จากนี้ไปตั้งใจให้แน่วแน่ขอขมาโทษต่อพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ที่เราได้พลาดพลั้งลงไปแล้ว

ด้วยกายวาจาใจตั้งแต่เด็กเล็กยังไม่รู้จักเดียงสามาจนกระทั้งถึงบัดนี้ขอขมาโทษงดโทษแล้ว

กายวาจาใจของเราจะได้เป็นของบริสุทธิ์สมควรเป็นภาชนะทองรองรับพระพุทธพระธรรม

พระสงฆ์ในอดีตปัจจุบันอนาคตสืบไปแต่ก่อนจะขอขมาโทษงดโทษพระรัตนตรัยพึงนอบน้อม

พระรัตนตรัยด้วยปณามคาถาคือนะโม๓หนหนที่๑น้อบน้อมพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์

ในอดีตนะโมหนที่๒น้อบน้อมพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ในปัจจุบันนะโมหนที่๓น้อบน้อม

พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ในอนาคตทั้งหมดด้วยกันต่างคนต่างว่านะโมดังๆพร้อมกัน๓หน

ได้ ณ บัดนี้

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ

     อุกาสะอัจจะโยโนภันเตอัจจัคคะมายะถาพาเลยะถามุฬเห,ยะถาอะกุสะเลเยมะยังกะรัมหาเอวังภันเตมะยังอัจจะโยโนปะฏิคคัณหะถะ,อายะติงสังวะเรยยามิ

     ข้าพระพุทธเจ้าขอวโรกาสได้พลั้งพลาดด้วยกายวาจาใจในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เพียงไรแต่ข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนพาลเป็นคนหลงอกุศลเข้าสิงจิตให้กระทำความผิดต่อพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ขอพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์จงงดความผิดทั้งหลายเหล่านั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นข้าพระพุทธเจ้าจักขอสำรวมระวังซึ่งกายวาจาใจสืบต่อไปในเบื้องหน้า

คำอาราธนา

     อุกาสะ, ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา, สมเด็จพระพุทธเจ้า, ที่ได้ตรัสรู้ล่วงไปแล้ว,ในอดีตกาล, มากกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง๔, แลสมเด็จพระพุทธเจ้า, ที่ได้ตรัสรู้ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า, แลสมเด็จพระพุทธเจ้า, ที่ได้ตรัสรู้ในปัจจุบันนี้, ขอจงมาบังเกิด,ในจักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวารชิวหาทวาร, กายทวาร, มโนทวาร, แห่งข้าพระพุทธเจ้า,ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

     อุกาสะ, ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา, พระนพโลกุตรธรรมเจ้า, ๙ประการ, ในอดีตกาลที่ล่วงลับไปแล้ว, จะนับจะประมาณมิได้, และพระนพโลกุตรธรรมเจ้า, ๙ประการ, ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า, และพระนพโลกุตรธรรมเจ้า, ๙ประการ, ในปัจจุบันนี้, ขอจงมาบังเกิด,ในจักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวารชิวหาทวาร, กายทวารมโนทวาร, แห่งข้าพระพุทธเจ้า, ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

     อุกาสะ, ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา, พระอริยสงฆ์กับสมมุติสงฆ์, ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้ว, จะนับจะประมาณมิได้, และพระอริยสงฆ์กับสมมุติสงฆ์, ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า,และพระอริยสงฆ์กับสมมุติสงฆ์, ในปัจจุบันนี้, ขอจงมาบังเกิด, ในจักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวาร,ชิวหาทวาร, กายทวาร, มโนทวาร, แห่งข้าพระพุทธเจ้า, ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

คำอธิษฐาน

     ขอเดชคุณพระพุทธเจ้า, คุณพระธรรมเจ้า, คุณพระสงฆเจ้า, (ท่านผู้หญิงว่าคุณครูบาอาจารย์) คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์, คุณมารดาบิดา, คุณทานบารมีศีลบารมี, เนกขัมมบารมี,ปัญญาบารมี, วิริยะบารมีขันติบารมี, สัจจบารมีอธิษฐานบารมี, เมตตาบารมีอุเบกขาบารมี,ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา, แต่ร้อยชาติพันชาติ, หมื่นชาติแสนชาติก็ดี, ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา,ตั้งแต่เล็กแต่น้อย, ระลึกได้ก็ดีมิระลึกได้ก็ดี, ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้น, จงมาช่วยประคับประคองข้าพเจ้า, ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จมรรคและผล, ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด, นิพพานะปัจจะโยโหตุฯ

การบอกกำหนดดวงนิมิตเพื่อพัฒนาใจต่อไป

     บัดนี้ท่านทั้งหลายได้สวดมนต์ไหว้พระเสร็จเรียบร้อยซึ่งการกล่าวคำสวดเช่นนี้เป็นอุปการะให้การพัฒนาใจได้ผลดียิ่งดังนั้นก่อนฝึกพัฒนาใจทุกครั้งจะต้องกล่าวคำสวดให้ครบบทสวด

     จากนี้ไปให้ทุกท่านนั่งขัดสมาธิคือเท้าขวาทับเท้าซ้ายวางมือบนหน้าตักมือขวาทับมือซ้ายนิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้ายตั้งกายตรงตั้งใบหน้าให้ตรงไม่ก้มหน้าแล้วนึกทำใจให้ว่างคือปราศจากเรื่องกังวลใจทั้งปวงแม้หน้าที่การงานและภารกิจส่วนตัวไม่ต้องนำมาขบคิดนึกถึงคำสอนของพระศาสดาข้อที่ ๓ ว่า สจิตฺตปริโยทปนํ แปลว่าทำใจให้สว่างใสนั้นมีวิธีทำดังนี้

     ให้ทุกท่านหลับตาเพื่อให้ใจเปิดเมื่อหลับตาแล้วให้นึกถึงดวงแก้วกลมขาวใสสว่างโชติมีขนาดเท่าแก้วตานึกให้ดวงแก้วขาวใสด้วยใจเมื่อนึกได้แล้วพึงเลื่อนดวงนิมิตไปตามฐานต่างๆในตัวเราดังต่อไปนี้

     (.) ปากช่องจมูก(หญิงซ้ายชายขวา)

     น้อมดวงนิมิตใสมาที่ปากช่องจมูกสำหรับท่านหญิงปากช่องจมูกซ้ายสำหรับท่านชายน้อมมาปากช่องจมูกขวาเอาใจสัมผัสดวงนิมิตใสเบาๆพร้อมกับบริกรรมในใจว่า  สัม  มา  อะ  ระ  หัง  จำนวน๓ครั้งแล้วนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

     (.) เพลาตา(หญิงซ้ายชายขวา)

     จากนั้นเลื่อนดวงนิมิตใสมาที่เพลาตาสำหรับท่านหญิงเพลาตาซ้ายและท่านชายเพลาตาขวานึกบรรจุดวงนิมิตใสลงไปที่รูน้ำตาออกคือเพลาตาเอาใจสัมผัสดวงนิมิตใสบริกรรมในใจว่าสัมมาอะระหังจำนวน๓ครั้งแล้วนึกให้ดวงนิมิตใสเกิดความสว่างโชติ

     (.) จอมประสาท(ในกะโหลกศีรษะ)

     จากนั้นเลื่อนดวงนิมิตใสไปในจอมประสาทอยู่ในกะโหลกศีรษะวิธีเลื่อนดวงนิมิตใสให้ทำตาขาวเหมือนตาคนเป็นลมคือนึกเหลือกตากลับเข้าไปในกะโหลกศีรษะพร้อมกับเลื่อนดวงนิมิตใสไปด้วยให้ดวงนิมิตใสนิ่งอยู่ในกะโหลกศีรษะแล้วลืมเรื่องการเหลือกตาทันทีเอาใจสัมผัสดวงนิมิตใสบริกรรมในใจว่า  สัม  มา  อะ  ระ  หัง  จำนวน๓ครั้งแล้วนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

     (.) ปากช่องเพดาน

     จากนั้นเลื่อนดวงนิมิตใสมาที่ปากช่องเพดานเอาใจสัมผัสดวงนิมิตใสบริกรรมในใจว่า  สัม  มา  อะ  ระ  หัง  จำนวน๓ครั้งแล้วนึกให้ดวงนิมิตสว่างโชติ

     (.) ปากช่องลำคอ

     จากนั้นเลื่อนดวงนิมิตใสมาที่ปากช่องลำคออยู่ในหลอดลำคอคะเนว่าอยู่เหนือลูกกระเดือกนิดหนึ่งเอาใจสัมผัสดวงนิมิตใสบริกรรมในใจว่า  สัม  มา  อะ  ระ  หัง  จำนวน๓ครั้งแล้วนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

     (.) ฐานของศูนย์กลางกาย

     จากนั้นเลื่อนดวงนิมิตใสไปในท้องของเราดวงนิมิตใสตั้งอยู่ตรงไหนสมมุติว่ามีเส้นด้าย๒เส้นเส้นแรกสมมุติว่าแทงจากสะดือตัวเราเองขึงตึงทะลุข้างหลังอีกเส้นหนึ่งสมมุติว่าแทงจากสีข้างขาวขึงตึงทะลุสีข้างซ้ายเราเห็นเป็นมโนภาพว่าในท้องเรามีเส้นด้ายตัดกัน๒เส้นเป็นรูปกากบาทตรงจุดตัดคือฐานของศูนย์กลางกายเอาดวงนิมิตใสไปตั้งไว้จุดตัดของเส้นด้ายบริกรรมในใจว่า  สัม  มา  อะ  ระ  หัง  จำนวน๓ครั้งแล้วนึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติ

     (.) ศูนย์กลางกาย(ศูนย์ถาวร)

     จากนี้ไปเลื่อนดวงนิมิตในจากฐานที่๖ให้สูงขึ้นมาประมาณ๒นิ้วมือตัวเองคือเลื่อนจากฐานของศูนย์กลางกายมาที่ศูนย์กลางกายเอาใจสัมผัสนิ่งกลางดวงนิมิตใสบริกรรมในใจว่า  สัม  มา  อะ  ระ  หัง  นึกให้ดวงนิมิตใสสว่างโชติบริกรรมเรื่อยไปจำนวนร้อยครั้งพันครั้งอย่างน้อย๒๐นาทีต่างคนต่างบริกรรมผู้นำวิชาหรือครูเงียบเสียงชั่งคราวให้โอกาสสมาชิกฝึกต่างคนต่างฝึกตามวิธีการดังกล่าวแล้ว

การวัดผล

     การวัดผลเบื้องต้นเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้นำหรือครูจะต้องติดตามตรวจสอบเพื่อทราบผลการปฏิบัติว่าฝึกใจได้ผลเพียงใดหรือไม่ ? หากผู้ใดยังทำไม่เป็นจำเป็นต่างฝึกเบื้องต้นต่อไปรายใดที่สามารถฝึกใจระดับเบื้องต้นได้ผู้นำหรือครูจะต้องบอกความรู้ชั้นสูงต่อไปเรื่อยๆตามระดับความรู้หลักสูตรต่างๆ

     นั่นคือเมื่อสมาชิกฝึกเฉพาะตนเป็นเวลา๒๐นาทีแล้วผู้นำหรือครูจะต้องถามสมาชิกว่าผู้ใดสามารถเห็นดวงธรรมในท้องของตนแสดงว่าฝึกพัฒนาใจเบื้องต้นได้แล้วผู้นำหรือครูจะต้องบอกความรู้ชั้นสูงให้เขาฝึกต่อไป  ดังนี้

การบอกวิชาเมื่อฝึกเห็นดวงธรรมเบื้องต้นแล้ว

     เมื่อการฝึกดำเนินมาพอสมควรแล้วผู้นำหรือครูกล่าวเตือนสมาชิกผู้ฝึกท่านใดยังไม่เห็นดวงธรรมหรือเห็นแล้วแต่ยังไม่ชัดหรือเห็นๆหายๆให้บริกรรมในใจว่า  สัม  มา  อะ  ระ  หัง  ต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะเห็นดวงธรรมในท้องของตนสว่างใสจึงจะฝึกความรู้ชั้นสูงต่อไปได้

     สำหรับท่านที่ฝึกจนเห็นดวงธรรมในท้องของตัวเองเป็นดวงแก้วขาวใสสว่างโชติ  ให้บริกรรมว่าหยุดในหยุดและหยุดในหยุดต่อไป โดยส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรมนั้นจนกว่าจะเห็น“จุดขาวใสเท่าปลายเข็ม” นั้นและเมื่อเห็นจุดขาวใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรมแล้วให้ส่งใจนิ่งลงไปที่จุดใสเท่าปลายเข็มนั้นพร้อมกับบริกรรมในใจว่าหยุดในหยุดและหยุดในหยุดๆๆๆแล้วจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรมจะว่างและหายไปในว่างใสนั้นจะเห็น พระพุทธรูปขาวใสเป็นเพชร  เกตุดอกบัวตูม ตัวเราหันหน้าไปทางไหนองค์พระก็หันหน้าไปทางนั้นท้องเราขณะนั้นมีสถานะประดุจท้องฟ้าปราศจากเมฆพระพุทธรูปขาวใสนี้เรียกว่า “ธรรมกาย” เป็นกายแก้วมีชีวิตจิตใจมีความศักดิ์สิทธิ์ในการปกปักรักษาแก่ผู้เข้าถึง

กล่าวสวดแผ่เมตตา

    ก่อนเลิกจากการฝึกพึงกล่าวสวดแผ่เมตตาเสียก่อนโดยผู้นำหรือครูเป็นผู้กล่าวนำสมาชิกกล่าวตามคำสวดแผ่เมตตามีดังนี้

    สัพเพสัตตา             สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    อเวราโหนตุ             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย

    อัพยาปัชฌาโหนตุ   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

    อนีฆาโหนตุ             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิดอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

    สุขีอัตตานังปริหรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ.

 

บางส่วนจากหนังสือ วิชาธรรมกายฉบับครึ่งหลักสูตร หน้า 10  :  อ่านทั้งหมด | หน้าแรก